กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2490-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โคกศิลา
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 22,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมรันสะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัมรันสะอะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.342,101.874place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 เม.ย. 2561 17 เม.ย. 2561 22,200.00
รวมงบประมาณ 22,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามดูแลให้การรักษาไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2550) การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหาโดยการ ตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30- 60 ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้
จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ 2558-2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาพบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเพียง118 คนคิดเป็นร้อยละ 19.8 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับสตรี จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2561เพื่อติดตามและค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการในระยะเริ่มแรกและสามารถให้การรักษาได้ทันเวลา เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะแรก เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตามเป้าหมายกำหนดไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตาม มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ

สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี แปปสเมียร์ (Pap smear) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อให้อสม.มีความรู้และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและแนะนำได้ถูกต้อง

สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-70 ปี มีความรู้ความสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ ทัศนคติที่ดีต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

กลุ่มเป้าหมายมี ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องร้อยละ80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี 2.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข -ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม -ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 3.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่นหอกระจายข่าวป้ายประชาสัมพันธ์ 1. 4.ให้ความรู้/สอนทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายและประเมินทักษะการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ 5.จัดคลีนิคให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 6.แจ้งผลการตรวจคัดกรองคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ผู้รับบริการ 7.ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง 8.ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสตรีมีความรู้และทักษะ สามารถแนะนำเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมได้อย่างถูกต้อง
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังและติดตามมาตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอทุก 5ปี 3.ครอบครัว ชุมชน และสังคมมีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 10:27 น.