กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและปัญหา ในเด็กอายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ 61-L2490-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ..สต.โคกสิลา
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 24,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมรันสะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัมรันสะอะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.342,101.874place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 เม.ย. 2561 17 เม.ย. 2561 24,750.00
รวมงบประมาณ 24,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนและ เด็กวัยเรียนซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญาประกอบกับการพัฒนาในด้านต่างๆ มีผลต่อการกำหนดลักษณะ พฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัว ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กวัยนี้จะต้องมีภาวะโภชนาการที่ดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10 ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ให้เด็กแรกเกิด- ๗๒เดือน มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานอายุตามน้ำหนักไม่น้อยกว่าร้อยละ
๙๓ จากผลการดำเนินงานของในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ๗.๔๑ซึ่งสูงกว่าที่เป้าหมายกำหนดไว้ไม่มากกว่าร้อยละ ๗ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเนื่องจากผู้ปกครองเด็กขาดความรู้ด้านโภชนาการมีพฤติกรรมการ บริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งผู้ปกครองมีลูกมาก ไม่มีเวลาดูแลลูก เพราะฉะนั้นการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กและตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ต้องได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาทั้ง ๔ กลุ่มอายุ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐พบว่า ผลงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ร้อยละ ๗๒.๗๙ ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงตั้งไว้ คือร้อยละ ๙๐ซึ่งจะต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็ก เพื่อความปลอดภัยจากโรคที่กำลังระบาดในพื้นที่ โดยเฉพาะโรคคอตีบ และโรคหัด ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพ ในเด็กอายุ ๐-๕ ปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพฟันและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก

ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพฟันและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมตามวัยให้แก่เด็กที่ ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมตามวัยให้แก่เด็กที่ ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อลดภาวะขาดสารอาหารในเด็ก 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กขาดสารอาหารลดลงจากเดิม

0.00
4 ข้อที่ 4.เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5ปี ส่งผลกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาได้เต็มศักยภาพ

เด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100

0.00
5 ข้อที่ 5.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เชิญประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ 2.เขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกะลุวอเพื่ออนุมัติงบประมาณ 3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.ดำเนินโครงการกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กขาดสารอาหาร และติดตามการรับวัคซีนตามเกณฑ์ 6.ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 7.รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพฟันและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 2.จำนวนเด็กที่มีปัญหาขาดสารอาหารในพื้นที่มีภาวะขาดสารอาหารลดลง 3.จำนวนเด็กที่ขาดการรับวัคซีนตามเกณฑ์ ได้รับการฉีดวัคซีนร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 10:35 น.