กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงไทยยุคใหม่ใส่ใจการตรวจโรคมะเร็ง ปี 2561
รหัสโครงการ 61 - L5191 - 1 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแปด
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 43,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอร เหลาะเหม
พี่เลี้ยงโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ ศรีรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 เม.ย. 2561 28 ก.ย. 2561 43,500.00
รวมงบประมาณ 43,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรหญิงในหมู่บ้านที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
61.88

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ1 และ 2ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2546พบว่าโรคมะเร็ง ปากมดลูกเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.1 ของมะเร็งทุกชนิดในสตรี (447 จาก 1,440 ราย) โรคมะเร็งที่พบรองลงมา ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งช่องปาก,โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค,อัตราการป่วยและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งฯ ลดลง การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ที่ผ่านมาพบว่าหญิงไทยยังติดเรื่องอายหมอมากที่สุด ไม่กล้าไปตรวจมะเร็งปากมดลูก ทำให้ตรวจคัดกรองได้ไม่ถึงร้อยละ 20
ปี2560 ประชากรหญิง 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 543 คนผลงานสะสม 336 คน คิดเป็น 61.88 % แต่เป้าหมายต้องได้ 80% ดังนั้นปี 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแปดจึงจัดทำโครงการนี้เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย จากจำนวน 580 คน ต้องได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มอีก จำนวน 200คน โครงการข้างต้นจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งในสตรีได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

ร้อยละของประชากรหญิงในหมู่บ้านที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

80.00
2 เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมระยะแรก

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,520.00 0 0.00
11 - 30 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ 1 การดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็จแก่กลุ่มเป้าหมาย 0 23,500.00 -
25 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้่านมและมะเร็งปากมดลูกให้กลุ่มเป้าหมาย 0 20.00 -
  1. จัดประชุมชี้แจงเ้จาหน้าที่
  2. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย
  3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจ
  4. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ พร้อมบันทึกข้อความในการปฏิบัติงาน
  5. ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  6. ออกตรวจมะเร็งปากมดลูกตามตารางการปฏิบัติงาน และลง Program Pap Registry
  7. ประเมินผลและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน และบุคคลต้นแบบของชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 16:37 น.