กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านหูนบ Say No To Foam
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปรางร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวงจะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food good Taste) แล้วก็ตาม แต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร "โฟม" ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยจากในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม (Potystyene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูงหรือที่มีไขมันหรือน้ำมันจะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่ สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (ฺBenzene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูกทำให้โลหิตจาง และสารพาเลท (Phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธ์ุ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งเป็นขยะที่มีความคงทนและใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และกระบวนการกำจัดโฟมอาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้าน/แผงจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปรางรวมทั้งหมด 15 ร้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านแผงลอย ซึ่งพบกว่าร้อยละ 90บรรจุอาหารโดยใช้โฟมเป็นหลัก รองลงมาคือถุงพลาสติก และยังรวมไปถึงการใช้โฟมจากประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปรางที่มีการซื้ออาหารที่ใช้โฟมจากภายนอกเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้นอกจากการใช้โฟมจะมีสารอันตราย ยังเป็นปัญหาในด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนอีกด้วย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปรางจึงมีความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหารเป็นหน่วยงานนำร่องในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหาร และผู้บริโภคตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร และผู้บริโภคเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนการใช้โฟม

 

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ประกอบการค้า และผู้บริโภค ลด ละ เลิกการใช้โฟมในการบรรจุอาหาร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายร้านอาหาร และแผงลอยในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ท่ามะปราง 1.2 จัดทำแผนโครงการ และรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของโครงการ 1.3 ขออนุมัติโครงการ กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารภายในหน่ายงาน ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียน ชุมชน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง เพื่อจัดทำโครงการ 2.2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อสม. และผู้นำชุมชน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง 2.3 ดำเนินการตามกิจกรรม โครงการที่กำหนด จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดโครงการ/กิจกรรม 2.3.1 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้รับชอบ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการ 2.3.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตัวแทนผู้บริโภค) เพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จำนวน 50 คน 2.3.3 คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบปลอดโฟม "Say No to Foam" ได้แก่บ้านหูนบ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าชะมวง 2.3.4 จัดประชุมนำเสนอผลงาน และคืนข้อมูลเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี แก่ ชุมชน ร้าน/แผงลอยจไหน่ายอาหาร กลุ่มผู้บริโภค (มอบสติ๊กเกอร์ "ร้านนี้ปลอดภัย" ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร แก่ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร และมอบเกียรติแก่ชุมชน) 2.4 ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามขั้นตอน และรูปแบบที่กำหนด 2.5 สรุป และประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดองค์กรปลอดโฟมในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง 2. เกิดหมู่บ้านปลอดโฟมในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง 3. ประชาชนหมู่ที่ 5 บ้านหูนบ ลด ละ เลิก การใช้โฟม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2561 08:57 น.