กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (3 โรค)
รหัสโครงการ 61-L5273-2-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านฉลุง
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านฉลุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 460 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะเป็นฤดูที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายสูงสุด เนื่องจากฝนที่ตกมาจะทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทำให้จำนวนยุงลายเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอื่น ๆ ของปี ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออกโรคติดเชื้อไวรัสซิกาและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่แม้ว่าปัจจุบันในพื้นที่ตำบลฉลุงจะมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ปี 2559) แต่ยังคงวางใจไม่ไดต้องดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมโรคอย่างเข้มข้นต่อไป ทั้งนี้โรคที่มียุงลายเป็นพาหะสามารถป้องกันได้โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแนะมาตรการ "พิชิตลูกน้ำยุงลาย 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค" ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นทีา่เกาะพักของยุง2.เก็บขยะเศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายไปวางไข่เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย รวมทั้งการกำจัดและควบคุมยุงตัวแก่ เช่นการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดเช่น ทายากันยุง กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้าจุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็ฯต้น ซึ่งการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคคือ การป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการมุ่งเน้นการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรค ต้องดำเนินการก่อนโรคเกิด หากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมจะทำได้ลำบาก และสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคเเกิดขึ้นในพื้นที่และให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดจากยุงลายร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1. เพื่อให้ครู 25 คน และผู้ปกครอง 37 คน นักเรียน 460 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหนะ (3 โรค) ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

ครู ผู้ปกครอง นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้เข้าใจการเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหนะ (3 โรค) ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (3 โรค) ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

บุคลากรในโรงเรียน และนักเรียนมีสุขภาพดีร้อยละ 90

0.00
3 ข้อ 3.เพือนำวัสดุธรรมชาติมาทำสเปรย์ไล่ยุง และโลชั่นไล่ยุง

นำวัสดุธรรมชาติมาทำสเปรย์ และโลชั่นไล่ยุง ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27.00 2 28,000.00
16 พ.ค. 61 - 30 มิ.ย. 61 จัดอบรมเกี่ยวกับการป้องกัน 0 17.00 0.00
16 พ.ค. 61 - 30 มิ.ย. 61 จัดทำสเปรย์ไล่ยุงและโลชั่นไล่ยุง 0 10.00 28,000.00

1.เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหนะ (3 โรค) แก่บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนบ้านฉลุง2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำสเปรย์ไล่ยุงจากพืชสมุนไพรตะไคร้หอม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชน บุคลากร นักเรียน ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สามารถลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหนะได้2.เพื่อลดอัตราป่วย ตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน โดยการนำวัสดุธรรมชาติป้องกันตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2561 09:19 น.