กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ มหกรรมหญิงไทยดูแลเอาใจใส่เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 60-006-711-721-737
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุโป
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอามีเนาะมะทา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนวรัตน์เพ็ชรเรือนทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลกซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วนโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 11 ล้านคนและตายจากโรคมะเร็ง 7 ล้านคนโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกการป้องที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักการกระตุ้นให้เกิดการดูแล และการป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราตายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง3คนในประชากรหนึ่งแสนคนในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 5,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30 – 50ปีซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากท้าทุก 2ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92 % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจ้าเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจท้าได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ30-60ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ2553-2557ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุโปอำเภอเมืองจังหวัดยะลาพบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2553-2557ร้อยละ 69.99และปี 2558 – 2559ร้อยละ 16.76จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุโปจึงได้จัดท้าโครงการมหกรรมหญิงไทยดูแลเอาใจใส่เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง

หญิงวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ และมีทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านม

2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตาม มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ

สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 .จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐-๖๐ปี
2. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ -ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
-สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
3. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์
4. จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
5. แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ผู้รับบริการ
6. ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนสามารถจัดการสุขภาพตนเอง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 2 สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหาCellผิดปกติของปากมดลูก 3สตรีที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2560 10:12 น.