กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมสุขาภิบาลอาหาร เฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน รพ.สต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมสุขาภิบาลอาหาร เฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน รพ.สต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5238-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ชุมพล
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 9,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิจิตราทองเกิด
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญกาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัย ๔ ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน๕หมู่ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอีกด้วย ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารที่ไม่สด สะอาด มีสารปนเปื้อนก็จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปริมาณการบริโภคอาหารด้วย ถ้าหากบริโภคมากเกินไปจะทำให้เป็นโรคภาวะโภชนาการเกิน บริโภคน้อยเกินไปจะทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารการบริโภคอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือดการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน และประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน เป็นประจำ ก็เป็นสาเหตุ ให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นต้นอาหารจะสะอาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ อาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาปรุงสถานที่ผลิตและประกอบการด้านอาหาร เช่น ร้านอาหาร แผงลอยตลาด แผงขายอาหารสด และโรงครัวและร้านขายของชำ คนจำหน่ายคนปรุง และคนเสริฟอาหาร ตลอดจนคนทำความสะอาดภาชนะนอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งน้ำเสีย และแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยเป็นต้น การที่จำให้อาหารสะอาด ปลอดภัยได้คุณค่าทางโภชนาการนั้นรัฐบาลจึงได้มุ่งเน้นงานอาหารปลอดภัยและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขเป็นสำคัญมาตั้งแต่ปี 2548 โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านความเข้มแข็งในการกำกับดูแล ให้อาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารมีกิจกรรมการดูแลสถานประกอบการอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดทำโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)และการดำเนินงานตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 6ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ รวมทั้ง อะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญที่จะทำให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักสุขาภิบาลและได้คุณค่าทางโภชนาการ
ในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยได้คุณค่าทางโภชนาการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามเกณฑ์ชี้วัด เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำผู้บริโภคผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกลวิธีการดำเนินงานและมีสิ่งสนับสนุน เอื้ออำนวยที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องได้การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อการสร้างสระแสสังคม ให้ตระหนักเห็นความสำคัญของการเลือกซื้อเลือกอาหารบริโภค ที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรณรงค์ให้ความรู้ แก่ประชาชนผ่านสื่อทุกรูปแบบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องต่อไป
ดังนั้น รพ.สต.ชุมพล จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและ ผู้บริโภคให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง เหมาะสม ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการแผงลอย ร้านค้า อสม.และแกนนำชุมชน มีความรู้ในการดำเนินงานอาหาร สะอาด ปลอดภัย ตระหนักเห็นความสำคัญและร่วมรับผิดชอบ ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค 2.เพื่อให้ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้อาหารปลอดภัย สุขาภิบาลอาหารสามารถเลือกซื้อและ บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย 3.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็งแก่ผู้บริโภคในชุมชน

          1.แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจ ติดตาม ดูแลและเฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหาร ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัย ร้อยละ  90 2.ผู้ประกอบการร้านขายชำ เข้ารับการอบรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค และ มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 3.ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร และ มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 4.อสม./ผู้นำชุมชน เข้ารับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร และ มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 5.แผงลอยจำหน่ายอาหาร ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเจ้าหน้าที่และประธาน อสม.แต่ละหมู่ เพื่อชี้แจงโครงการ 2.ตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย 3.ตรวจอาหารเพื่อหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI2) ในแผงลอยจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป 4.ตรวจประเมิน ติดตาม ดูแล ด้านยาและเครื่องสำอางในร้านขายของชำ
5.อบรมสุขาภิบาลอาหาร ครู/ผู้ดูแลเด็กหรือผู้ปกครองในศูนย์เด็กเล็ก 6.อบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ยา เครื่องสำอาง แก่ อสม. หรือแกนนำชุมชน ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ผู้จำหน่ายอาหารสำเร็จรูป 7.สนับสนุนป้าย No foam ในแผงจำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมนโยบาย
8.ประเมินผล/สรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อสม.แกนนำชุมชน ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ผู้จำหน่ายอาหารสำเร็จรูปลดการใช้โฟม ส่งผลให้ จำนวนขยะลดลงและภาคีเครือข่ายเป็นแบบอย่างที่ดีในการลดการใช้โฟมในโอกาสต่าง ๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2561 13:59 น.