กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ชื่อโครงการเฝ้าระวังและสร้างกระแสการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสา ปนเปื้อนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2561
1. ผลการดำเนินงาน 1.1 ผลผลิต
- ตรวจ ติดตาม ดูแลและเฝ้าระวังด้านสุขาภิบาลอาหารปลอดภัย ยาและเครื่องสำอาง แผงลอยขายอาหาร
ร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 27 แห่ง
- ร้านค้า แผงลอยได้รับการตรวจติดตาม ดูแลด้านสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 3 ร้าน
- ผู้ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-5 ปี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในโรงเรียน และ อสม./แกนนำชุมชนได้รับการอบรมสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 80 คน
1.2 ผลตัวชี้วัด : - ร้านค้า แผงลอย โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการตรวจ ติดตาม ดูแลและเฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหาร ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัย มากกว่าร้อยละ 100 - ผู้ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-5 ปี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในโรงเรียน และ อสม. หรือแกนนำชุมชน ได้รับการอบรมสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 80 คน และมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 89.60 2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด •บรรลุตามวัตถุประสงค์ • ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะ
3. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 7,150 บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง  4,250 บาท  คิดเป็นร้อยละ .....59.44..... งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ 2,900 บาท  คิดเป็นร้อยละ 40.56 4. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน •ไม่มี • มี ปัญหา/อุปสรรค - ผู้ประกอบการ ร้านค้า แผงลอย ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการปฎิบัติตามข้อสุขาภิบาล ส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและจะปรับปรุงปฎิบัติเมื่อเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจเยี่ยม หรือหลังการตรวจเยี่ยมใหม่ๆ เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน สภาพร้านค้า แผงลอยและพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารก็ยังไม่ค่อยถูกสุขลักษณะ - ร้านขายอาหาร แผงลอยยังใช้โฟมในการบรรจุอาหารรับประทาน - ร้านชำยังมีการแอบขายเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ไม่มีอ.ย.รับรองบางร้านยังขายยาอันตราย เช่น Noxy แนวทางแก้ไข - การให้ความรู้แก่ประชาชนโทษ พิษภัยและอันตรายจากการใช้โฟม บรรจุอาหาร และพิษภัยของเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ไม่มีอ.ย.รับรอง ผ่านช่องทางต่างๆเช่นเวทีประชาคม หอกระจายข่าว การประชุม โปสเตอร์ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง - จัดอบรมผู้ประกอบการ ร้านค้า แผงลอย และมีการติดตามให้ความรู้ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ร้านค้า ตระหนักถึงโทษ พิษภัยและอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร และพิษภัยของเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ไม่มีอ.ย.รับรอง - พัฒนาศักยภาพ อสม.และเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและ จะช่วยให้การ ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ประสบความสำเร็จมากขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการแผงลอย รา้นค้า อสม.และแกนนำชุมชน มีความรู้ในการดำเนินงานอาหารสะอาด ปลอดภัย ตระหนักเห็นความสำคัญและร่วมรับผิดชอบ ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค 2. เพื่อให้ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน มีความรู้อาหารปลอดภัยสุขาภิบาลอาหาร สามารถเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย 3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคอุจจาระร่วง 4. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายผู้บริโภคในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด : 1. ร้านค้า แผงลอย โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการตรวจ ติดตาม ดูแลเฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหารผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัย มากกว่าร้อยละ 90 2. ผู้ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-5 ปี ครูผูัดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน อสม. หรือแกนนำชุมน ได้รับการอบรมสุขาภิบาลอาหาร และมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2557-2561) โดยเทียบจากระบบรายงาน 506 4. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคที่ระดับ 5 (จากแบบประเมินระดับการมีส่วนร่วม)
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 89
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 89
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการแผงลอย รา้นค้า อสม.และแกนนำชุมชน มีความรู้ในการดำเนินงานอาหารสะอาด ปลอดภัย ตระหนักเห็นความสำคัญและร่วมรับผิดชอบ ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค  2. เพื่อให้ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน มีความรู้อาหารปลอดภัยสุขาภิบาลอาหาร สามารถเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย  3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคอุจจาระร่วง  4. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายผู้บริโภคในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh