กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ชมรมอสม.บ้านนาท่าม ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8428-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านนาท่าม
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.635,99.551place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2561 30 ก.ย. 2561 25,000.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 880 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภัยเงียบของโรค Metabolic ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการ และเสียชีวิต ตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐ เอกชน และสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกราย ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolicด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Verbal Screening) การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรค Metabolic โดยบุคลากรสาธารณสุขกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้วพร้อมบันทึกข้อมูลลงตามโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolicปี 2553ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชมรมอสม.บ้านนาท่ามจัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาระโรค Metabolic ในประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปเพื่อให้การดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงบรรลุตามตัวชี้วัดและได้รับจัดสรรงบประมาณในงานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประจำปี 25๖๑ และจัดบริการในระดับปฐมภูมิเป็นไปอย่างมีคุณภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรอง

90.00
2 2.เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงทุกคน

90.00
3 เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนด

ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนดทุกราย

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร 15 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่นผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
5. ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเสียงตามสาย วิทยุชุมชน ประชุมอสม ฯลฯ 6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน

ขั้นที่ 2ขั้นดำเนินงานตามโครงการฯ 1. แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม.มีส่วนร่วม 2. จัดประชุมอสม.เชี่ยวชาญ ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การวัดส่วนสูง น้ำหนักและคำนวณดัชนีมวลกาย 3. ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยให้ อสม.นัดประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการคัดกรองในระดับหมู่บ้าน /ชุมชน ขั้นที่ 3สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 1. สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. อบต.ทราบภาระของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
2. รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค Metabolic
  2. ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
  3. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรค Metabolic
  4. ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 09:57 น.