กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาคีเครือข่ายวังประจันร่วมใจ ต้านภัยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดาศรีริภาพ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์กาเส็มส๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.753,100.16place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกายความเครียด โรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจันประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ พบว่า มีกลุ่มป่วยรายใหม่ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน ๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕.๗๑ มีกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายเก่าจำนวน ๒๘๐ คนคิดเป็นร้อยละ๒๙.๑๗(ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) ทั้งยังพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้โดยผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ ๔.๘๔ หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกายความเครียด โรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจันประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ พบว่า มีกลุ่มป่วยรายใหม่ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน ๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕.๗๑ มีกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายเก่าจำนวน ๒๘๐ คนคิดเป็นร้อยละ๒๙.๑๗(ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) ทั้งยังพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้โดยผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ ๔.๘๔ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ ๔๕.๖๖(ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) จากผลการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเรื้อรังไม่สามารถควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคได้ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะในพื้นที่เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล(รับประทานหวาน มันเค็มมากเกินไปและรับประทานผัก ผลไม้น้อยเกินไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อยการบริโภคยาสูบรวมถึงภาวะเครียดซึ่งหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวจะส่งผลให้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่มีความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อพัฒนาระบบบริการคลินิกโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขและผู้รับบริการ ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการร้อยละ ๙๐

90.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ชุมชนมีการสร้างสุขภาพและร่วมดูแลซึ่งกันและกันโดยผ่านทีมสุขภาพโรคเรื้อรัง

ผู้ป่วยได้รับติดตามอาการโดยทีมสุขภาพโรคเรื้อรัง

100.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ ๔๐ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ ร้อยละ ๕๐ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,200.00 3 15,200.00
1 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน ทีมสุขภาพโรคเรื้อรัง เพื่อวางแผนและสรุปผลการดำเนินงาน 0 1,000.00 1,000.00
1 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ๒.กิจกรรมจัดทำค่ายผู้ป่วยเรื้อรัง / ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง 0 5,200.00 9,200.00
27 - 31 ส.ค. 61 ๓. กิจกรรมติดตามเยี่ยมกลุ่มป่วยในชุมชน 0 5,000.00 5,000.00
  1. จัดการเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในสถานที่บริการและในชุมชนเกี่ยวกับบทบาทในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดโรค และภาวะแทรกซ้อนโดย อสม.และเจ้าหน้าที่
  2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพจิตอาสาตำบลวังประจันเป็นทีมสุขภาพโรคเรื้อรังในชุมชนและการเยี่ยมดูแลผู้ป่วยตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2.1จัดทำค่ายผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง HT/DM)แบบไม่พักค้างแรมโดยทีมสหวิชาชีพใน การจัดกิจกรรมตามฐานประกอบด้วย  ฐานให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน  ฐานความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา  ฐานโภชนาการให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารในท้องถิ่น ขนาดปริมาณที่ผู้ป่วยรับประทานได้ในชีวิตประจำวัน อาหารทดแทนในผู้ป่วย  ฐานการออกกำลังกาย แนะนำการสาธิตฝึกการออกกำลังกายที่สอดคล้องกับสภาพผู้ป่วยและการคลายเครียด 2.2 ตรวจประเมินโดยการเจาะเลือด HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวานและวัด ความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ก่อน- หลัง เข้าร่วมโครงการ
  3. ทีมสุขภาพโรคเรื้อรังมีการเยี่ยมดูแลสุขภาพกายและจิตใจผู้ป่วยพร้อมให้คำแนะนำญาติในการดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้อง การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ตลอดจนให้ความรู้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ๔. ติดตาม ควบคุม กำกับ การดำเนินงานของทีมสุขภาพโรคเรื้อรัง โดยจัดประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และฟื้นฟูความรู้ด้านการดูแลสุขภาพกายและจิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลวังประจัน เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มข้นสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆ อย่างยั่งยืน เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างสุขภาพให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการขยายผลการเกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนสร้างความเข็มแข็งและการพึ่งตนเองทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 11:23 น.