กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์
รหัสโครงการ 61-L8411-1-31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.26ใน
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาแว แวดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355,101.327place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจาง ยังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ หญิงตั้งครรภ์ หากเกิดภาวะโลหิตจางจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ คือ หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ต้องมีการทำงานของหัวใจที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว และในระยะคลอดเมื่อมีการเสียเลือดจากการคลอดก็จะเสี่ยงต่อการช็อกหรือไตล้มเหลวได้ และมีการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ส่วนทารกในครรภ์ อาจส่งผลให้เกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกโตช้าในครรภ์ มีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ เสียชีวิตในครรภ์ หรือเป็นโรคโลหิตจางได้ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ซึ่งได้ระบุไว้ในแผนงานอาหารและโภชนาการแห่งชาติมาตั้งแต่ฉบับแรก กระทรวงสาธารณสุข มีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนซึ่งจากการสำรวจสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต บ้านกม.26ใน ในปีงบประมาณ 256๑ พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก จากการเจาะเลือดครั้งที่ที่ 1 เจาะเมือฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อน 12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 เมืออายุครรภ์ 30 สัปดาห์ สูงถึงร้อยละ 13.09 ซึ่งเป้าหมายกรมอนามัยกำหนดให้ไม่เกิน ร้อยละ 10
จากปัญหาดังกล่าว รพ.สต บ้านกม.26 ใน จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ปี61 เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มวัยที่มีความสำคัญ และส่งผลต่อทารกและเด็กซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ โดยส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ มุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเอง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ลดปัญหาภาวะซีด จากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์

 

0.00
2 2. หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กและการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,750.00 1 10,750.00
1 มี.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ 0 10,750.00 10,750.00
  1. จัดประชุมชี้แจงคณะกรรมการ เพื่อพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่การดำเนินงาน
  2. วิเคราะห์ปัญหาจัดทำโครงการเพื่อเสนองบประมาณและขออนุมัติโครงการ
  3. จัดทำป้ายไวนิวประชาสัมพันธ์ แก้ปัญหาภาวะซีด
  4. จัดอบรมให้ความรู้แก้ปัญหาภาวะโลหิตจางเพื่อพัฒนาศักยภาพแก่หญิงตั้งครรภ์
  5. ติดตามหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะซีด
  6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ลดลง
  2. มีสื่อแหล่งข้อมูลความรู้ ในการแก้ปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ ๓. หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้และสามารถบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 14:36 น.