โครงการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)ประจำปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)ประจำปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L8411-2-30 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ |
วันที่อนุมัติ | 27 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 11,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมารียะ สาเมาะแม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.355,101.327place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน เป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก ในประเทศกำลังพัฒนาประมาณว่าโรคท้องร่วงเป็นสาเหตุการตาย 17.5 - 21%ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (ประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี) ในปี พ.ศ. 2551 มีรายงานเด็กไทยเสียชีวิตจากโรคท้องร่วง 266 คน องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติตั้งเป้าให้ลดอัตราตายจากโรคท้องร่วงในเด็กลง 2 ใน 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง 2558อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังนี้พบว่า การเจ็บป่วยจากโรคท้องร่วงและการเสียชีวิตจาก โรคนี้น้อยลง เนื่องจากสภาวะสุขภาพ และเศรษฐกิจสังคมดีขึ้น แต่โรคท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) ยังเป็นปัญหาสำคัญอยู่
ข้อมูลที่มีในประเทศไทยของกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 พบอุบัติการณ์ของโรคท้องร่วงในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้นจาก 7,140.9 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปีพ.ศ. 2543เป็น 10,000 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปี พ.ศ. 2553 แต่อัตราตายลดลงจาก 0.35 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปี พ.ศ. 2544 เป็น 0.10 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปีพ.ศ. 2555
จากข้อมูลของประเทศไทย พ.ศ. 2553 โรคท้องร่วงในเด็กพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากใน ช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม โรคท้องร่วงที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเฉพาะไวรัสโรตา
จากรายงานกระทรวงสาธารณสุขพบว่า จากการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันตั้งแต่วันที่๑มกราคม – ๓๑ ธันวาคม๒๕๖0มีรายงานว่าพบผู้ป่วย๑,00๗,๔๑๕รายจากทั่วประเทศเสียชีวิต ๔ ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ มากกว่า ๖๕ ปี, ๑๕ – ๒๔ปีและ๒๕ – ๓๔ปีจังหวัดที่มีอัตราป่ายสูงสุด๕ อันดับแรก คือ แม่ฮ่องสอน ปราจีนบุรี ภูเก็ต จันทบุรี และสมุทรสงคราม โรคอุจจาระร่างจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)จะพบมากในเด็กเล็กซึ่งเกิดในช่างฤดูหนาว มีระยะฟักตัว ๒ -๓ วัน ลักษณะอาการมักมีไข้ต่ำ ๆน้ำมูก ไอ อาเจียน และมีอาการทางเดินอาหารตามมาอุจจาระเป็นน้ำหากอาการไม่รุนแรงเด็กจะหายได้เองใน ๒ - ๓ วันหรือไม่เกิน๑สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะขาดน้ำนำไปสู่ภาวการณ์ช็อกและเสียชีวิตได้การติดต่อระหว่างคนสู่คนโดยการกินการสัมผัสกับคนสิ่งของหรือพื้นผิวต่างๆที่มีการเปื้อนอุจจาระและไม่ทำความสะอาดเช่นของเล่นของใช้ของเด็กทำให้ได้รับเชื้อจากมือที่สกปรกแล้วหยิบเข้าปาก
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ เห็นความสำคัญของโรคดังกล่าวจึงได้จัดทำ โครงการป้องกัน ควบคุมโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)ประจำปีงบประมาณ 2561 เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผู้นำชุมชนมีความรู้ และความเข้าใจในสถานการณ์ระบาดวิทยา และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนได้ร่วมกันวางแผนงานในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงในตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อันจะส่งให้ผลอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง ลดลง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง ๑. ร้อยละ ๘๐ ผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคอุจจาระร่วงในครัวเรือน โรงเรียน และชุมชน |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ใช้ในการประกอบอาหารถูกหลักสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงให้ลดลง ๒. ร้อยละ ๘๐ ผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดี |
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สามารถนำความรู้ ไปแผ่แพร่แก่ชุมชนต่อไป ๒. ร้อยละ ๘๐ ผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสามารถนำความรู้ ไปแผ่แพร่แก่ชุมชนต่อไป |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
9 ส.ค. 61 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus) | 50 | 11,450.00 | ✔ | 9,950.00 | |
รวม | 50 | 11,450.00 | 1 | 9,950.00 |
5.1 ขั้นเตรียม
- ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ประสานงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสารต่าง ๆ
5.2 ขั้นดำเนินการ
- ดำเนินการจัดอบรมป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง
ติดตามหลังการอบรม เพื่อดูว่าได้นำกิจกรรมไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
5.3 ขั้นสรุปและประเมินผล
ประเมินผลหลังการอบรมโดยใช้แบบสอบถาม
- ประเมินผลหลังติดตามหลังการอบรม โดยใช้แบบประเมิน
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
- ผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง
- ผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ใช้ในการประกอบอาหารถูกหลักสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงให้ลดลง
- ผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สามารถนำความรู้ ไปแผ่แพร่แก่ชุมชนต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 14:53 น.