กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 7/2561
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแพรกหา
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,680.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.654,100.01place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุขไทย ซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกัน ควบคุม มาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในประเทศเรื่อยมา
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ในพื้นที่ตำบลแพรกหา มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีจำนวน ๔ ราย  ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีจำนวน ๑๗ ราย และปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีจำนวน ๖ ราย ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีพฤติกรรมในการควบคุมโรคไข้เลือดออก และเพื่อลดจำนวนการแพร่ระบาด ลดจำนวนและอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลแพรกหา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑. เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มวัย ตัวชี้วัดความสำเร็จ จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ข้อที่ ๒. เพื่อกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในชุมชน (HI, CI) ไม่เกินร้อยละ ๘๐ ข้อที่ ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ข้อที่ ๔. เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ข้อที่ ๕. เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

วัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑. เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มวัย ตัวชี้วัดความสำเร็จ จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ข้อที่ ๒. เพื่อกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในชุมชน (HI, CI) ไม่เกินร้อยละ ๘๐ ข้อที่ ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม  ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ข้อที่ ๔. เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ข้อที่ ๕. เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อทำการขออนุมัติ ๒. ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๓. สำรวจบ้านต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย ตลอดปี ๒๕๖๑ จำนวน ๑๒๔ หลังคาเรือน ๔. มอบเกียรติบัตรให้บ้านต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย ๕.กรณีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลแพรกหา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทีมระวังเหตุการณ์และควบคุมโรคระบาดในชุมชนทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และอสม. เข้าดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคโดยการพ่นสเปรย์ฆ่ายุงมีเชื้อที่บ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียงรัศมี ๑๐๐ เมตร ภายใน ๓ ชั่งโมง หลังได้รับการแจ้งและให้โลชั่นทาป้องกันยุงกัดแพร่เชื้อแก่บุคคลภายในครอบครัวผู้ป่วย/บ้านใกล้เคียง และพ่นหมอกควันหรือพ่นละอองฝอยภายใน ๒๔ ชั่วโมง ภายในบ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียงรัศมี ๑๐๐ เมตร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 3. ในพื้นที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 4. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 15:24 น.