กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจร้านขายของชำ ร้ายขายอาหารสด ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร งานคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลแพรกหา
รหัสโครงการ 8/2561
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแพรกหา
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,421.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.654,100.01place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหาจึงมีแผนที่จะให้มีโครงการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ฯลฯ โดยในพื้นที่ตำบลแพรกหา  มีจำนวนร้านอาหาร 1 ร้าน ร้านแผงลอย 5 ร้าน ตลาดนัด 3 ตลาดและร้านค้า/ร้านขายของชำ จำนวน 54 ร้าน ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลแพรกหา จึงได้จัดทำโครงการตรวจร้านขายของชำ ร้านขาย อาหารสด ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร งานคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลแพรกหา ปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านขายของชำ และร้านขายยา ร้านจำหน่ายอาหารสด ตลาดนัด ตลอดจนยาสมุนไพรและยาลูกกลอน ในตำบลแพรกหา ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้านขายของชำ ร้านขายยา ร้านจำหน่ายอาหารสดและตลาดนัด ได้รับการตรวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อที่ 2. เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการอุปโภค บริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน ลดความเสี่ยงจากการอุปโภค บริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อที่ 3. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านค้าและผู้บริโภค ให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านค้าและผู้บริโภค มีความรู้เพิ่มขึ้น ข้อที่ 4. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้เพิ่มขึ้น ข้อที่ 5. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนัก และเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เกิดภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการและผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านขายของชำ และร้านขายยา
ร้านจำหน่ายอาหารสด ตลาดนัด ตลอดจนยาสมุนไพรและยาลูกกลอน ในตำบลแพรกหา    ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้านขายของชำ ร้านขายยา ร้านจำหน่ายอาหารสดและตลาดนัด ได้รับการตรวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อที่ 2. เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการอุปโภค บริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน ลดความเสี่ยงจากการอุปโภค บริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อที่ 3. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านค้าและผู้บริโภค ให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านค้าและผู้บริโภค มีความรู้เพิ่มขึ้น ข้อที่ 4. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้เพิ่มขึ้น ข้อที่ 5. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนัก และเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เกิดภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการและผู้บริโภค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตำบลแพรกหาร่วมกันกับเพื่อนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลแพรกหา     1.2 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
          2.2 จัดอบรมให้ความรู้และเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 2.3 การดำเนินการร้านขายของชำ ร้านค้า
๑) ดำเนินการตรวจร้านขายของชำโดยตรวจผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง ตำบลแพรกหา จำนวน 5๔ ร้าน ร้านละ 2 ครั้ง
2.4 การดำเนินการร้านขายอาหารสด 1) สุ่มเก็บ ผัก อาหารสด ตรวจสารปนเปื้อนในร้านขายอาหารสดตามหมู่บ้าน 2 ครั้ง 2) มอบป้ายอาหารปลอดภัยให้กับร้านจำหน่ายอาหารสด 2.5 การดำเนินงานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 1) ตรวจร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในตำบลแพรกหา ตามมาตรฐานการจัดตั้งร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล ร้านละ 2 ครั้ง 2) ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในตำบลแพรกหา โดยใช้ชุดทดสอบภาชนะสัมผัสอาหารและมือ SI-2 ร้านละ 2 ครั้ง 3) มอบป้ายอาหารสะอาดรสชาติอร่อย และต่ออายุป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย แก่ร้านที่ผ่านเกณฑ์


2.6 การดำเนินงานในตลาดนัด 1) ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารภายในตลาดนัด ในตำบลแพรกหา 3 แห่ง แห่งละ 2 ครั้ง       2) มอบป้ายอาหารปลอดภัยแก่ร้านในตลาดนัดที่ผ่านเกณฑ์
2.7 ติดตามและแนะนำผู้ประกอบการร้านขายยา ร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงจำหน่ายอาหาร           2.8 ตรวจสอบคุณภาพของตู้น้ำหยอดเหรียญในตำบลทั้ง ๑๐ ตู้ 3. ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยปราศจากสารเคมีและ สิ่งปนเปื้อน
  2. ไม่พบอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรายในร้านขายของชำ และตลาด ในเขตพื้นที่ตำบลแพรกหา
  3. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 15:30 น.