กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
การจัดทำรูปเล่มรายงาน30 กันยายน 2560
30
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรูปเล่มรายงาน

ติดตามและประเมินผล1 สิงหาคม 2560
1
สิงหาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่ง    พึงพอใจในเรื่องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ ร้อยละ ๙๖.๖๗ รองลงมาคือ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่ชุมชนได้ ร้อยละ ๙๓.๔๒

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย
เยี่ยมประเมิน/ติดตาม1 กรกฎาคม 2560
1
กรกฎาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ในพื้นที่มีทั้งหมด ๖ คน ได้ทำการออกเยี่ยมติดตามจำนวน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมประเมินครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งสองครั้ง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน31 พฤษภาคม 2560
31
พฤษภาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน ซึ่งในแต่ละครัวเรือนผู้สูงอายุจะปลูกผัก/สมุนไพร มากกว่าหนึ่งชนิด โดยผัก/สมุนไพรที่นิยมปลูก ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริกสด ขมิ้น และมะกรูด ซึ่งในการปลูกผัก/สมุนไพรนั้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่ มูลวัว และมูลแพะ) และบางครัวเรือนมีการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุและอาหารที่เหมาะสมกับวัย 25 เมษายน 2560
25
เมษายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจัดโครงการพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๖๐ คน โดยมีสัดส่วนของเพศชายและเพศหญิงที่ใกล้เคียงกันคือจำนวน ๒๘ คน และ ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๖๗ และร้อยละ ๕๓.๓๓ ตามลำดับ ช่วงอายุ  ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดคือช่วงอายุ ๖๑-๗๐ ปี จำนวน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๒๐ รองลงมาคือช่วงอายุ ๗๑-๘๐ ปี จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๑๐ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาหรือน้อยกว่า จำนวน ๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๓๐ รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๗๐ อาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๗๐ รองลงมาคืออาชีพแม่บ้าน จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๐ รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง ๐ - ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๔๐ รองลงมามีรายได้อยู่ในช่วง ๕,๐๐๑ – ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๒๐  ผลการประเมินพบว่า หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งข้อคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ข้อคำถามที่ ๕ ผู้สูงอายุควรงดการใช้แรงกาย และต้องพักผ่อนมากๆ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๓.๓๓ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ รองลงมาคือข้อคำถามที่ ๑๔ ปลาเค็ม, ปลาส้ม, ปลาพอง ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๖.๖๗ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ และข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือข้อคำถามที่ ๑๕ โปรตีนจากเนื้อปลาเหมาะที่จะนำมาประกอบอาหารให้กับผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ ๑.๖๖

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย