กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการจัดโครงการพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๖๐ คน โดยมีสัดส่วนของเพศชายและเพศหญิงที่ใกล้เคียงกันคือจำนวน ๒๘ คน และ ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๖๗ และร้อยละ ๕๓.๓๓ ตามลำดับ ช่วงอายุ  ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดคือช่วงอายุ ๖๑-๗๐ ปี จำนวน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๒๐ รองลงมาคือช่วงอายุ ๗๑-๘๐ ปี จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๑๐ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาหรือน้อยกว่า จำนวน ๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๓๐ รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๗๐ อาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๗๐ รองลงมาคืออาชีพแม่บ้าน จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๐ รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง ๐ - ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๔๐ รองลงมามีรายได้อยู่ในช่วง ๕,๐๐๑ – ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๒๐ ๑.๑  การประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม / การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ  กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ และอาหารที่เหมาะสมกับวัย         ผลการประเมินพบว่า หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งข้อคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ข้อคำถามที่ ๕ ผู้สูงอายุควรงดการใช้แรงกาย และต้องพักผ่อนมากๆ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๓.๓๓ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ รองลงมาคือข้อคำถามที่ ๑๔ ปลาเค็ม, ปลาส้ม, ปลาพอง ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๖.๖๗ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ และข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือข้อคำถามที่ ๑๕ โปรตีนจากเนื้อปลาเหมาะที่จะนำมาประกอบอาหารให้กับผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ ๑.๖๖ ๑.๒  การเยี่ยมติดตามแปลงผักของผู้สูงอายุ       จากการเยี่ยมติดตามแปลงผักของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน ซึ่งในแต่ละครัวเรือนผู้สูงอายุจะปลูกผัก/สมุนไพร มากกว่าหนึ่งชนิด โดยผัก/สมุนไพรที่นิยมปลูก ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริกสด ขมิ้น และมะกรูด ซึ่งในการปลูกผัก/สมุนไพรนั้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่ มูลวัว และมูลแพะ) และบางครัวเรือนมีการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง


๑.๓  การออกเยี่ยมประเมิน/เยี่ยมติดตาม ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง       ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ในพื้นที่มีทั้งหมด ๖ คน ได้ทำการออกเยี่ยมติดตามจำนวน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมประเมินครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งสองครั้ง ๑.๔  การประเมินความพึงพอใจ       ผลการประเมินความพึงพอใจจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖๐ คน พบว่า ๑. ด้านการบริการของคณะดำเนินการ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่อง การแต่งกายของคณะดำเนินงานมากที่สุด ร้อยละ๙๕.๓๒ รองลงมาคือ การต้อนรับ ร้อยละ ๙๕.๐๐ ๒. ด้านวิทยากร พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่องการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมากที่สุดร้อยละ ๙๔.๔๘ รองลงมาคือ การใช้ภาษาที่เหมาะสม เข้าใจง่าย ร้อยละ ๙๓.๐๔ ๓. ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่องความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ ๙๕.๑๓ รองลงมาคือ สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม ร้อยละ ๙๕.๐๐ ๔. ด้านการนำความรู้ไปใช้ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่ง    พึงพอใจในเรื่องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ ร้อยละ ๙๖.๖๗ รองลงมาคือ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่ชุมชนได้ ร้อยละ ๙๓.๔๒ โดยสรุปพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือระดับมาก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ๑. เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลตนเองได้ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

 

2 ๒. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมติดตาม/เยี่ยมบ้าน และการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ร้อยละ ๑๐๐

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 67
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 67
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (2) ๒. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh