กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่ ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวสุกัญญา เหร็มดี

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L8010-2-10 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L8010-2-10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,925.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในปัจจุบันผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประมาณว่าในปี 2563 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี อยู่ราว 1 ใน 6 ของประชาการทั้งหมด เนื่องมาจากคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ในวัยเด็กจะมีความเจริญมากกว่าความเสื่อม กล่าวคือร่างกายจะขยายขนาดทั้งความสูงและน้ำหนักตัว ส่วนผู้สูงอายุความเสื่อมของร่างกายจะมีมากกว่าความเจริญ ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทั่วไป อ่อนแอและเกิดโรคง่าย แต่อย่างไรก็ตามความเสื่อมหรือการเปลี่ยนแปลงจะแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ กรรมพันธุ์ วิถีการดำรงชีวิต อาหารการกิน สภาพเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และอายุมากกว่า 80 ปี มีดังนี้ ความเสื่อมของสติปัญญา สาเหตุสำคัญได้แก่ ภาวะสับสน สมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า อาการซึมเศร้า เกิดได้ 5-10 % ของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย เช่น อัมพาต ผู้สูงอายุที่ไม่มีใครดูแลการแยกหาสาเหตุจำเพาะเป็นสิ่งสำคัญ แต่บางครั้งทำได้ยากเนื่องจากมักจะพบสาเหตุร่วมกันได้บ่อย ดังนั้นจึงต้องคอยสอดส่องและแก้ไขปัญหาทุกประการที่อาจเป็นสาเหตุพฤติกรรมที่อันตรายรวมทั้งผู้สูงอายุมีความจำกัดทางด้านร่างกายอยู่หลายประการ ทั้งเรื่องสุขภาพ สายตา การได้ยิน พละกำลัง เป็นต้น แต่ผู้สูงอายุก็สามารถมีสุขภาพแข็งแรงสมวัยได้ ด้วยการดูแลตนเองตามหลักสุขอนามัยพื้นฐาน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. อาบน้ำและแปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดีของร่างกาย ไม่สะสมเชื้อโรค อันจะทำให้เกิดโรคตามมาได้ 2. กินอาหารที่สะอาด อย่างน้อยวันละ 3 มื้อ และทานให้ครบ 5 หมู่ การทานอาหารสะอาดช่วยป้องกันโรค และการทานอาหารครบ 5 หมู่ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง รวมถึงเสริมสารอาหารที่จำเป็น ทำให้ร่างกายไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย 3. ออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่เกิน 30 นาที การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ นอกจากช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้ขยับร่างกายอยู่เสมอ ทำให้ไม่เกิดโรคข้อเสื่อมได้อีกด้วย รวมถึงได้นำพาออกซิเจนเข้าสู่สมอง ทำให้สมองปลอดโปร่ง 4. ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วยระบบย่อยอาหาร และช่วยให้ขับของเสียต่างๆ ออกจากไต และออกจากร่างกายได้อีกด้วย 5. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงแม้ว่าผู้สูงอายุอาจจะมีปัญหาในเรื่องการนอนหลับ แต่การพยายามนอนหลับให้เป็นเวลา และทำกิจกรรมระหว่างวัน จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น การพักผ่อนเพียงพอช่วยให้ปลอดโปร่งแจ่มใส 6. งดสิ่งเสพติด หากผู้สูงอายุติดสิ่งเสพติด ลูกหลานควรดูแลใกล้ชิด และให้ความรัก ความเข้าใจ รวมถึงอยู่เป็นเพื่อนคุยอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้สูงอายุได้ 7. ดูแลบ้าน เรือน ของใช้ เสื้อผ้าให้สะอาด น่าใช้ เพื่อสุขอนามัยที่ดี และมีอากาศปลอดโปร่ง 8. ตรวจสุขภาพให้ถ้วนถี่ปี1-2 ครั้ง เพื่อเป็นการเช็คสุขภาพ และแก้ไขอย่างทันท่วงที หากมีโรคประจำตัว ควรหมั่นพบแพทย์ตามที่นัดอย่างเคร่งครัด 9. ฝักใฝ่ธรรมะ มีใจเมตตา มีจิตใจดีต่อสิ่งรอบข้าง ช่วยให้อารมณ์แจ่มใสตลอดเวลา สุขอนามัยพื้นฐานทั้ง 9 ข้อนี้ หากปฏิบัติเป็นประจำจะเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดี แข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส อายุยืนยาว มีความสุขที่สุดในช่วงบั้นปลายของชีวิตและจากการสำรวจผู้สูงอายุในหมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่ มีจำนวน 124 คน ที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และจากการสำรวจผู้สูงอายุในหมู่ที่ 5 พบว่า มีกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้/ติดสังคม จำนวน 117 คน กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บาง จำนวน 4 คน และกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย จำนวน 3 คน ฉะนั้นการดูแลสุขภาพด้านสุขอนามัยของผู้สูงอายุถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกคนต้องให้ความสนใจ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับในทุกๆ ด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองได้ ช่วยทำให้การมีอายุยืนยาวมีความสุขทั้งทางกาย ใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย
  2. เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง โดยกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมร่วมกับผู้นำ ชุมชน
  3. เพื่อตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม มีความรู้เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย
    2. กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง ได้รับการเยี่ยมเยียนจากกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม และผู้นำชุมชน
    3. กลุ่มผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ทุกคน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย การทดสอบก่อนและหลังการอบรม โดยใช้แบบทดสอบจำนวน 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน เป้าหมายกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 117 คน พบว่า ก่อนการอบรมผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองให้ถูกตามหลักสุขอนามัย คิดเป็นร้อยละ 59.15 และหลังการอบรมคิดเป็นร้อยละ 74.79 จะเห็นได้ว่าผลการประเมินความรู้ ก่อนการอบรมและหลังการอบรมมีความแตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับอบรม หลังได้รับความรู้จากการบรรยายมีความรู้เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สาเหตุส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุบางท่านมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา อ่านหนังสือไม่คล่อง บางท่านต้องให้ อสม. ช่วยอ่านให้ฟัง เป็นต้น
    กิจกรรมที่ 2 กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ลงเยี่ยมกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชน จากการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จำนวน 4 คน และติดเตียงจำนวน 3 คน หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่ โดยการลงเยี่ยมของผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขและกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ทำให้ได้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ ความต้องการ และปัญหาของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุบางท่านเป็นโรคซึมเศร้า ไม่มีเพื่อนคุย อยู่บ้านคนเดียว กินยาไม่ครบตามแพทย์สั่ง มียาเก่ารวมกับยาใหม่ และปัญหาเกี่ยวกับสายตามองไม่ชัด เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุพอใจกับการลงไปเยี่ยม ได้พูดคุย เล่าปัญหาต่างๆ และทางเจ้าหน้าที่ก็ได้แนะนำ ให้กำลังใจกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจ ซึ่งการลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุถือเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มผู้นำชุมชนกับผู้สูงอายุและคนในครอบครัว กิจกรรมที่ 3 ตรวจสุขภาพเบื้องต้น (เบาหวาน/ความดันโลหิต) แก่ผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง
    การตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ จำนวน 124 คน จำนวน 2 ครั้ง โดยตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ผลการตรวจน้ำตาลในเลือดครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างสูง ร้อยละ 59.68 และ 60.48 ตามลำดับ ส่วนผลการตรวจวัดความดันโลหิต ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 พบว่าระดับความดันโลหิตค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 41.13 และ 32.26 ตามลำดับ ซึ่งผลการตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตทั้ง 2 ครั้ง จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีค่าค่อนข้างสูง สาเหตุที่พบ คือผู้สูงอายุบางคนกินยาไม่สม่ำเสมอ กินยาไม่ครบและไม่ไปพบแพทย์ ขาดการรักษาที่ต่อเนื่อง

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย
    ตัวชี้วัด : กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม มีความรู้เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

     

    2 เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง โดยกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมร่วมกับผู้นำ ชุมชน
    ตัวชี้วัด : กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง ได้รับการเยี่ยมเยียนมีขวัญกำลังใจจากกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมและผู้นำชุมชน

     

    3 เพื่อตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพทุกคน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย (2) เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง โดยกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมร่วมกับผู้นำ ชุมชน (3) เพื่อตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่ จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L8010-2-10

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวสุกัญญา เหร็มดี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด