กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการค่ายเยาวชนนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
กลุ่มเยาวชนนาซีฮัตรักควนไสน

ชื่อโครงการ โครงการค่ายเยาวชนนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L8010-2-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการค่ายเยาวชนนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการค่ายเยาวชนนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการค่ายเยาวชนนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L8010-2-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 34,775.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ท่ามกลางกระแสปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบันที่เน้นการ “สร้าง” มากกว่าการ “ซ่อม” ซึ่งเป็นการเน้นสุขภาพเชิงรุก และในปัจจุบันประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เงินเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชน ประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งได้เริ่มจากการออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคล ปัจจุบัน จักรยานได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากคนทุกเพศทุกวัย เรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นการปั่นที่ อินเทรนด์อยู่มาก เพราะการปั่นจักรยานได้ทั้งความสนุกสนาน ได้สังคม และยังได้ออกกำลังกายอีกด้วย นอกจากการปั่นจักรยานจะประหยัดเงิน ประหยัดค่าน้ำมัน ยังเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย เพราะจักรยานเป็นยานพาหนะซึ่งไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ใดๆ ที่ทำให้ต้องเป็นตัวปล่อยมลพิษทางอากาศออกมาสู่โลกภายนอก นอกจากจักรยานไม่ก่อให้เกิดมลพิษแล้ว การปั่นจักรยานยังประหยัดพลังงานมากกว่าการเดินถึงสามเท่าในระยะทางเท่าๆ กัน การปั่นจักรยานออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก โดยที่ไม่ต้องไปเสียเงินเข้าฟิตเนส หรือไปจ่ายกับค่าคอร์สตามสถาบันลดน้ำหนักต่างๆ ให้สิ้นเปลืองแต่อย่างใด แค่ลงทุนซื้อจักรยานสักคัน ไม่ต้องแพงมาก การปั่นจักรยานเพียง 1 ชั่วโมง สามารถเผาผลาญพลังงานได้ถึง 600 แคลอรี ทั้งนี้แล้วสังคมการปั่นจักรยานก็ค่อนข้างจะอบอุ่นและเป็นมิตร ทุกคนสามารถรู้จักกันได้ภายในเวลาอันรวดเร็วเหมือนเป็นกฎการดึงดูด (Law of Attraction) คือสิ่งที่เหมือนกันจะเข้าหากัน คน 2 คนที่เหมือนกันมักจะเข้าหากัน สิ่ง 2 สิ่งที่เหมือนกันจะดึงดูดเข้าหากัน ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติพื้นฐานที่พระเจ้าสร้างไว้อยู่แล้ว นอกจากนี้หากใครมีปัญหาอะไรก็มักจะช่วยเหลือกันและยังช่วยเสริมสุขภาพเราในทางอ้อมอีกด้วย
ดังนั้น กลุ่มเยาวชนนาซีฮัตรักควนไสน ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและต้องการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนมีความสามัคคีเป็นหมู่คณะ จึงได้จัดทำโครงการค่ายเยาวชนนักปั่นจักยานเพื่อสุขภาพขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชน ด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  2. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปั่นจักรยานบนท้องถนน
  3. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มในการปั่นจักรยาน ส่งเสริมให้เยาวชนมีสมรรถภาพแข็งแรง และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่ เหมาะสม
    2. เยาวชนมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปั่นจักรยานบนท้องถนน
    3. เกิดการรวมกลุ่มในการการปั่นจักรยานเพื่อการออกกำลังกาย และห่างไกลจากยาเสพติด

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    กิจกรรมที่ 1 เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ จากการเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า ก่อนการเข้าค่าย ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำแบบทดสอบก่อนเข้าค่ายผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 43 คน คิดเป็นร้อยละ 43.45 แต่หลังจากได้เข้าร่วมค่ายมีการอบรมให้ความรู้แล้วพบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 93 คน คิดเป็นร้อยละ 98 จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 95 คน โดยความรู้ที่ได้เยาวชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งชมรมนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ จากการเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ พบว่า เยาวชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปั่นจักรยานบนท้องถนน สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
    ก่อนจัดจั้งชมรม : เยาวชนทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 34 คน คิดเป็นร้อยละ 34.36
    หลังจัดตั้งชมรม : เยาวชนทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 85 คน คิดเป็นร้อยละ 61.64 ไม่ผ่านเกณฑ์ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ซึ่งถือว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัดที่วางไว้ คือไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าร่วมทั้งหมด ทั้งนี้ได้จัดตั้งกลุ่มชมรมนักปั่นจักรยานขึ้น โดยยึดเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเป้นแกนนำในชุมชนนั้น ๆ ซึ่งประกอบด้วยชุมชน ดังนี้ 1. หมู่บ้านควนไสน  จำนวน  45  คน 2. หมู่บ้านโกตา      จำนวน  10  คน 3. หมู่บ้านปิใหญ่      จำนวน  10  คน 4. หมู่บ้านปลักมาลัย จำนวน  10  คน 5. หมู่บ้านป่าฝาง      จำนวน  10  คน 6. หมู่บ้านอุไร          จำนวน  10  คน กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมติดตามเยาวชน จากการจัดตั้งกลุ่มส่งผลให้เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการได้มีกิจกรรมร่วมกัน คือ
    1. แสดงถึงการมีจิตอาสา ร่วมกันรณรงค์เก็บขยะในชุมชน แหล่งสาธารณประโยชน์ในชุมชน 2. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปั่นจักรยานร่วมกัน 3. มีจิตสำนึกรักและห่วงใยผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการออกเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้สูงอายุ ด้วยกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน พึงพอใจต่อเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ จากการตอบแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและผู้นำชุมชน ปรากฏว่า มีความพึงพอใจระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 89 ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 11 โดยมีข้อเสนอแนะให้ทางกลุ่มจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี เพื่อส่งเสริมสุขภาพ คุณธรรม จริยธรรม อันดีงามเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน และได้ใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ ร่วมเสนอให้ขยายเวลาการเข้าค่ายเพิ่มขึ้น

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชน ด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
    ตัวชี้วัด : เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

     

    2 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปั่นจักรยานบนท้องถนน
    ตัวชี้วัด : เยาวชนมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปั่นจักรยานบนท้องถนนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

     

    3 เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มในการปั่นจักรยาน ส่งเสริมให้เยาวชนมีสมรรถภาพแข็งแรง และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
    ตัวชี้วัด : เยาวชนเกิดการรวมกลุ่มในการการปั่นจักรยาน และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชน ด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม (2) เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปั่นจักรยานบนท้องถนน (3) เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มในการปั่นจักรยาน ส่งเสริมให้เยาวชนมีสมรรถภาพแข็งแรง และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการค่ายเยาวชนนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L8010-2-01

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( กลุ่มเยาวชนนาซีฮัตรักควนไสน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด