กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
โรงเรียนสตูลศานติศึกษา

ชื่อโครงการ โครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L8010-2-08 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L8010-2-08 ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 47,225.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่ มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิดถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ ปัจจุบันคนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
รวมทั้งพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทยสมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียก เป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก ซึ่งทางโรงเรียนสตูลศานติศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพรไทย จึงได้จัดทำโครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย เพื่อให้คณะครู บุคลากรและนักเรียนได้รู้จักสมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายในชุมชน ได้เรียนรู้ถึงสรรพคุณสมุนไพรแต่ละชนิดที่สามารถนำมาแปรรูปและเป็นยารักษาโรคได้ และนักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองแต่ละครัวเรือน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน
  2. เพื่อให้นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูป เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ
  3. เพื่อรวบรวมพันธ์พืชที่มีอยู่ในชุมชนมาจัดทำสวนสมุนไพรในโรงเรียน
  4. เพื่อให้นักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน
    2. นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้
    3. มีสวนสมุนไพรในโรงเรียน
    4. นักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    กิจกรรมที่ 1 สวนสวยด้วยสมุนไพรไทย (ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย) จากการร่วมกันส่งเสริมการจัดสวนสมุนไพรในโรงเรียน โดยกำหนดปลูกสมุนไพรร่วมกันห้องเรียนละ 1 ชนิด พบว่า ก่อนการปลูกนั้นเดิมทีโรงเรียนมีสวนสมุนไพรอยู่แล้ว 55 ชนิด ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกเพิ่มเติมอีก 22 ชนิด รวมเป็น 77 ชนิด จากนั้นได้ทำแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ก่อนการให้ความรู้ปรากฏว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเพียงแค่ 89 คน คิดเป็นร้อยละ 13.75 จากจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 647 คน แต่หลังจากได้ให้ความรู้และช่วยกันดูแล นักเรียน มีระดับความรู้เพิ่มขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 522 คน คิดเป็นร้อยละ 80.68 จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด โดยความรู้ที่ได้ นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและขยายผลนำไปเพาะปลูกที่บ้านของนักเรียนได้อย่างน่าภาคภูมิใจ สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ กิจกรรมที่ 2 จัดนิทรรศการฐานความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย (ตลาดนัดสมุนไพรไทย) จากการจัดนิทรรศการฐานความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย (ตลาดนัดสมุนไพรไทย) ทำให้พบว่านักเรียนและผู้ปกครองชื่นชอบ ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจและสนับสนุนสินค้าแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอย่างล้นหลาม จำหน่ายหมดทุกร้าน จากร้านค้า 6 ร้านค้าสมุนไพร ภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ จากการตอบแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจระดับดีเยี่ยม คิดเป้นร้อยละ 95 ระดับดีมาก คิดเป้นร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัดที่วางไว้ ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด ทั้งนี้ กิจกรรมฐานความรู้ ประกอบด้วย
    1. ฐานความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สรรพคุณและประโยชน์ของสมุนไพร 2. ฐานแปรรูปอาหารจากสมุนไพร 3. ฐานน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 4. ฐานสบู่ก้อนสมุนไพรกลีเซอรีน 5. ฐานการผลิตพิมเสนน้ำจากสมุนไพร 6. ฐานสเปรย์กันยุงจากตะไคร้หอม กิจกรรมที่ 3 นักเรียนปลูกพืชสมุนไพรที่บ้านอย่างน้อย 5 ชนิด (เยี่ยมบ้านนักเรียน) จากการจัดโครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย ทำให้นักเรียนและผู้ปกครองได้รับประโยชน์จากสมุนไพรในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพและการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้วยกิจกรรมดังกล่าว จึงส่งเสริมต่อยอดให้ผู้ปกครองและนักเรียน ได้มีกิจกรรมร่วมกันที่บ้านด้วยการปลูกสมุนไพร อย่างน้อย 5 ชนิด และส่งคณะครูออกสำรวจเยี่ยมบ้านนักเรียน พบว่า บ้านที่มีการปลูกพืชสมุนไพรครบ 5 ชนิด มีจำนวน 482 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 85.61 บ้านที่ไม่มีการปลูกพืชสมุนไพร มีจำนวน 42 หลัง คิดเป็นร้อยละ 7.46 บ้านที่มีการปลูกพืชสมุนไพร แต่ไม่ครบ 5 ชนิด มีจำนวน 39 หลัง คิดเป็นร้อยละ 6.92 จากจำนวนบ้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 563 หลัง (จากนักเรียน 647 คน ซึ่งส่วนหนึ่งนักเรียนเป็นพี่น้องกันอยู่บ้านเดียวกัน) โดยมีข้อเสนอแนะให้ทางโรงเรียนจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี เพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยา ซื้อพืชผักปรุงอาหารในครัวเรือนอีกด้วย 

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน

     

    2 เพื่อให้นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูป เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ
    ตัวชี้วัด : นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

     

    3 เพื่อรวบรวมพันธ์พืชที่มีอยู่ในชุมชนมาจัดทำสวนสมุนไพรในโรงเรียน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

     

    4 เพื่อให้นักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนร้อยละ 90 สามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน อย่างน้อย 5 ชนิด

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน (2) เพื่อให้นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูป เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ (3) เพื่อรวบรวมพันธ์พืชที่มีอยู่ในชุมชนมาจัดทำสวนสมุนไพรในโรงเรียน (4) เพื่อให้นักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L8010-2-08

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( โรงเรียนสตูลศานติศึกษา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด