กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านตาแปด ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ 61-L5191-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกรรมการหมู่บ้านตาแปด ม.5
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมานะฮ์ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ พงษ์ศักดิ์ ศรีรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2561 28 ก.ย. 2561 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะในทุกวันนี้ในทุกวันนี้ คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะ มีไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่างๆ หรือการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้น ซึ่งไม่ถูกตามหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเสีย เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในดินและแหล่งน้ำ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรค เช่น ยุง หนู แมลงสาป ฯลฯ ซึ่งพาหะของโรคติดต่อหลายชนิด นอกจากนี้ ขยะยังเป็นเหตุรำคาญและความไม่น่าดู ทำให้มีกลิ่นเหม็น สาเหตุ เนื่องจากประชากรในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มมากขึ้น สถานประกอบการต่างๆ มีมากขึ้น ทำให้เกิดปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งการกำจัดขยะไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะ จึงมีขยะตกค้างรอการกำจัดอยู่เป็นจำนวนมาก บ้านตาแปด หมู่ที่ 5 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง ซึ่งยังไม่มีระบบการเก็บขนขยะ เพื่อกำจัดอย่างครบวงจร ดังนั้น บ้านตาแปด ซึ่งมีปัญหาขยะเกือบร้อยละ 90 ของหลังคาเรือน ยังไม่มีระบบการคัดแยกขยะที่เข้มแข็งทำให้ขยะเต็มข้างถนน และไม่มีการคัดแยกและทำลาย ณ แหล่งกำเนิดขยะในครัวเรือน และยังไม่มีระบบการคัดแยกตามหลัก 3Rs ดังนั้น คณะกรรมการหมู่บ้านตาแปด ม.5 จึงจัดทำโครงการ หมู่บ้านตาแปด ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขึ้น เพื่อเป็นกลไกวิธีหนึ่งในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน

ร้อยละของจำนวนครัวเรือนมีการบริหารจัดการขยะตามหลัก 3Rs เพิ่มขึ้น

80.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะก่อนเข้ามาสู่กระบวนการกำจัด โดยการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง

ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง

80.00
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ร้อยละของตัวแทนครัวเรือนที่มีส่วนร่วมในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

90.00
4 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำเชื้อโรคติดต่อ ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ

ร้อยละของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลงหรือหมดไป ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์พาหะนำโรค

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 การรณรงค์ให้ความรู้ พัฒนาทักษะการจัดการขยะให้กับประชาชน เยาวชน และนักเรียน การคัดแยกขยะ การลดการใช้โฟมและพลาสติก 0 11,000.00 -
2 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 การพัฒนาระบบและกลไกด้านการจัดการขยะ จัดตั้งจุดรวบรวมขยะชุมชน 0 5,000.00 -
3 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ จัดตั้งกลุ่มต่างๆ การพัฒนาปรับภูมิทัศน์ 0 4,000.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับกรสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง
  2. นำโครงการที่ได้รับอนุมัติ นำเสนอในการประชุมของหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงโครงการ
  3. การรณรงค์ให้ความรู้ พัฒนาทักษะการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน นักเรียน เยาวชน การรณรงค์ลดการใช้โฟมและพลาสติก
  4. เสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน เช่น จัดให้มีกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสะสมในชุมชน
  5. จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เช่น การจัดกิจกรรม Big cleaning day การจัดตั้งครอบครัวดำเนินการจัดการขยะแบบครบวงจร การจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยหมักหรือน้ำหมัก กลุ่มเกษตรเพาะปลูกอินทรีย์
  6. จัดให้มีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน การคัดแยกขยะ ลดการใช้โฟมและพลาสติกบรรจุอาหารในร้านค้าและโรงเรียน
  7. ดำเนินการบริหารจัดการขยะตามหลักการ 3Rs, การลดใช้
  8. ประเมินผลและสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน
  2. สามารถลดปริมาณขยะก่อนเข้าสู่กระบวนการเก็บขน กำจัด มีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  4. ลดแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงสาบ ยุง ฯลฯ และลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2561 11:42 น.