กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและค้นหามะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี
รหัสโครงการ 61-L1499-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยตำบลบางรัก
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 22,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิสุทธิ์ บุญชัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.558,99.577place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ 30 -50 ปีในแต่ละปีผู้หญิงทั่วโลกป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละ 500,000 คน เสียชีวิตปีละ 200,000 คน ซึ่งประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาสำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่งและมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในเพศหญิงคือมะเร็งปากมดลูก การเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2553 พบผู้เสียชีวิตมากที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหญิงไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละประมาณ 5,000 คน หรือคิดเป็นผู้เสียชีวิตวันละ 14 คน จากรายงานการป่วยรายใหม่จากมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549ถึง พ.ศ.2552 พบว่าพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางมีอัตราการป่วยรายใหม่ประมาณ 4,000 ราย ต่อปีส่วนพื้นที่ภาคใต้พบว่ามีประมาณ 1,400 รายต่อปี โดยจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยจากโรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มลดลงจากเดิมเพียงเล็กน้อย
จากรายงานสถานการณ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขความคลอบคลุมการคัดกรองในกลุ่ม 30-60 ปี พ.ศ.2555 ร้อยละ 81.05 จะเห็นได้ว่ายังมีความคลอบคลุมในระดับที่ไม่มากนัก ทางกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญ ได้มีนโยบายและจัดการรณรงค์ในการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ จังหวัดตรังมีนโยบายจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ งานสาธารณสุขในปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ได้กำหนดเกณฑ์ไว้ ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูก ส่วนในปี 2561 นี้ได้กำหนดเกณฑ์ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ร้อยละ80ในส่วนของสถานีอนามัยตำบลบางรักนั้น ได้ตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายในปี 2560 ร้อยละ 35.80 ดังนั้นในปี งบประมาณ 2561 นี้ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
2 2.เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก

 

0.00
3 3.เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี ที่ตรวจพบอาการผิดปกติได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคและรักษาต่อไป

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  • จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ
  • ประสานงานจัดหาวิทยากรจากเครือข่ายโรงพยาบาลศูนย์ตรัง
  • จัดอบรมให้ความรู้และกำหนดวันตรวจ Papsmear จำนวน 2 วัน
  • ติดตามผลการอบรมและผลการตรวจ
  • สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกหากพบอาการผิดปกติจะได้รับการการรักษาอย่างทันท่วงทีและสามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปเผยแพร่ต่อไป อัตราการป่วยและตายจากมะเร็งปากมดลูกลดลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2561 13:48 น.