กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดแจ้ง ฟันสวย
รหัสโครงการ 61-L1499-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 9,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิรัตน์แก้วลาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.558,99.577place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 พ.ค. 2561 10 พ.ค. 2561 9,430.00
รวมงบประมาณ 9,430.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย ช่องปากเป็นด่านแรกของระบบการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพฟันเป็นส่วนประกอบสำคัญของอวัยวะในช่องปากในการบดเคี้ยวอาหารการออกเสียงและภาพลักษณ์ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตนำไปสู่พัฒนาการทางด้านร่างกายและสังคมที่ดีแต่จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยค่านิยมที่เร่งรีบทำให้ประชาชนขาดความใส่ใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่งผลให้อุบัติการณ์ของโรคฟันผุและโรคในช่องปากมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อลดการเกิดโรคดังกล่าว จึงควรส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลช่องปากตั้งแต่ในวัยเด็กจะช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต จากรายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับประเทศครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๕ พบเด็กอายุ ๓ ปี ในภาคใต้มีอุบัติการณ์การเกิดฟันผุสูงสุด (ร้อยละ ๖๑.๐) เมื่อเทียบกับอุบัติการณ์การเกิดฟันผุในระดับประเทศ (ร้อยละ ๕๑.๗) โดยพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สำคัญคือพฤติกรรมการแปรงฟันที่ไม่ถูกต้อง และการเลือกรับประทานอาหารที่ทำให้ฟันผุ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพเด็ก พ.ศ.๒560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก ในเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดแจ้ง ตำบลบางรัก อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พบว่าเด็กมีปัญหาฟันผุ (ร้อยละ 50) ซึ่งสูงกว่าระดับอำเภอที่มีฟันผุ (ร้อยละ 42.30) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางรัก ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดแจ้งและผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดแจ้ง ว่า“ถ้าฟันน้ำนมไม่ดีก็จะส่งผลให้ฟันแท้ซี่แรกที่จะขึ้นไม่ดีไปด้วย”จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดแจ้ง ฟันสวย เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูผู้ดูแลเด็ก ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้องและเหมาะสมช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ศพด. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปากที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันของเด็กที่ถูกวิธี

 

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดแจ้งได้รับการแปรงฟันก่อนนอนทุกวัน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.เก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงาน ๒.สำรวจข้อมูล - เก็บข้อมูลทั่วไป,บริบทพื้นที่ - สัมภาษณ์ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ดูแลเด็ก - ตรวจสภาวะช่องปากของเด็ก ๓.วิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูล ๔.กระบวนการค้นหาปัญหาร่วมกับชุมชน ๕.จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ ๗.ดำเนินกิจกรรมโครงการ ๘.สรุป ประเมินผลและติดตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่ถูกวิธี
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กได้แปรงฟันให้เด็กก่อนนอนทุกวัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2561 14:37 น.