กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการเพื่อสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการหนูน้อยปฐมวัย
รหัสโครงการ 61-L4119-3-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปูยุด
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวกอลีเยาะ เจ๊ะอุบง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.167,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หนูน้อยปฐมวัยเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงหนูน้อยแรกเกิดอายุ 0-5 ปี และมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา หนูน้อยหรือเด็กในวัยนี้จะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพดีในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกันโดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่นเด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวและรอบข้าง ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ พ่อแม่จะต้องให้ความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน การอยู่ของลูกเป็นพิเศษ เพราะในบางครั้งมีการเบื่ออาหาร ชอบเล่น และชอบปฏิเสธประเภทจำพวกผัก และอาหารแปลกๆ จะทำให้เด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและสมอง เป็นต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปูยุด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลธารโต ได้ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลธารโต เพื่อดูแลสุขภาพของหนูน้อยปฐมวัย จึงคิดค้นจัดการส่งเสริมโภชนาการของเด็กให้มีความสมบูรณ์ เพื่อการเจริญเติบโตสมวัยของหนูน้อย มีสุขภาพและอนามัยที่ดี และได้จัดกิจกรรมร่ววมกัน โดยสอดแทรกกับการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองมีความสนุกสนานพร้อมกับการเรียนรู้ การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน เช่น ร่วมกันทำอาหารกลางวัน และสามารถที่จะสร้างเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หนูน้อยปฐมวัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก

 

0.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี

 

0.00
5 เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในเรื่องการขาดสารอาหารในเด็กเล็กและผู้ปกครองสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

0.00
6 เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

 

0.00
7 เพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เรื่องความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหารที่ถูกวิธี สะอาด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดประชุมครูผู้ดูแลเด็กคณะกรรมการศูนย์เจ้าหน้าที่เพื่อกำหนดรูปแบบในการจัดโครงการ
  2. นำเสนอโครงการเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพพิจารณาและอนุมัติโครงการ
  3. ประชุมครูผู้ดูแลเด็กคณะกรรมการศูนย์เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปูยุดเพื่อมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมตามโครงการ
  4. ประวานงานวิทยากรจากโรงพยาบาลธารโตเพื่อให้ความรู้ในเรื่องเฝ้าระวังโภชนาการของเด็ก
  5. จัดซื้อาหารเพื่อการสาธิตมาเป็นตัวอย่างในการประกอบอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการของเด็ก
  6. สรุปผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรค
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ให้เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี ได้รับการประเมินโภชนาการและพัฒนาการ คิดเป็นร้อยละ 90
  2. ให้เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 80
  3. ให้เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม คิดเป็นร้อยละ 85
  4. เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
  5. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการ เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0-5 ปี
  6. ผู้ปกครอง นักเรียน และครูผู้ดูแลได้เรียนรู้ในเรื่องของโภชนาการเพื่อสุขภาพ
  7. นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีและสามารถลดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็กนักเรียน
  8. ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับการร่วมกิจกรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี
  9. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลได้เรียนรู้ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ในการปรุงอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษในอาหาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561 14:28 น.