โครงการพัฒนาความครอบคลุมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 - 5 ปี
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาความครอบคลุมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 - 5 ปี |
รหัสโครงการ | 61-L4119-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลธารโต |
วันที่อนุมัติ | 18 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 33,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟาดีละห์ สาเต๊าะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นโรคที่ค่อยๆหายไปจากประเทศไทยเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมและการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนของระบบสาธารณสุขมากยิ่งขึ้นโดยความสำเร็จของวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนนั้นขึ้นกับองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน (Vaccine coverage) สูงและมีประสิทธิผลของวัคซีน (vaccine effectiveness) ดี อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสูงตั้งแต่ก่อนเริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบนั้นและยังมีความเชื่อทางศาสนาที่ส่งผลต่อการปฏิเสธวัคซีนองค์ประกอบสำคัญทั้ง 2 ประการนี้ยังไม่สมบูรณ์ ปัญหาอุปสรรคจากผู้รับวัคซีนได้แก่ความเชื่อทางศาสนาความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการโรคและวัคซีนความเชื่อเรื่องการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตของเด็กหลังได้รับวัคซีนของผู้ปกครองวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพของผู้ปกครองที่ไม่เอื้อต่อการนำเด็กมารับวัคซีนการย้ายที่อยู่อาศัยและความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาแก้ไขอย่างเร่งด่วนซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่ครอบคลุมของการได้รับวัคซีนรวมป้องกันคอตีบบาดทะยักไอกรนคือการอบรมการติดตามควบคุมกำกับและรายงานความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของเด็กในพื้นที่การนัดหมายเด็กมารับวัคซีนให้ได้ตามระยะเวลาที่ถูกต้องในปี 2559โรงพยาบาลธารโตได้จัดเก็บข้อมูลการได้รับวัคซีนของเด็ก 0 - 5 ปีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ (43 แฟ้ม)และใช้ข้อมูลวิเคราะห์ความครอบคลุม (ICT) พบว่ามีความครอบคลุมต่ำกว่าร้อยละ 90ปี 2557คิดเป็นร้อยละ 62.27ปี 2558คิดเป็นร้อยละ 68.29ปี 2559คิดเป็นร้อยละ 62.39ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าการบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วนขาดการติดตามและคืนข้อมูลการรายงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีนรวมทั้งการติดตามกำกับการบันทึกข้อมูลการประมวลผลความครอบคลุมในระบบฐานข้อมูลยังไม่สมบูรณ์การพัฒนาความครอบคลุมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 - 5 ปีให้มีคุณภาพจะส่งผลดีต่อเจ้าหน้าที่เองและต่อเด็กเป็นอย่างมากและงานนี้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเด็กด้วยเช่นกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี มีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมต่อการรับวัคซีนที่ดี
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
|
0.00 | |
3 | เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและรณรงค์กระตุ้นให้เกิดความตระหนักต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาสัมพันธ์โครงการการดำเนินงานเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นต่อการรับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี
- จัดอบรมให้ความรู้ให้กับผู้ปกครองเด็กเพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีมีความรู้เจตคติและพฤติกรรมต่อการรับวัคซีนที่ดี
- จัดอบรมให้ความรู้่แก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อให้มีการติดตามควบคุมกำกับและรายงานความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของเด็กในพื้นที่
- ออกติดตามเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์พร้อมกับอาสาสมัครสาธารณสุข
- ข้อมูลนี้สามารถเป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองนำเด็กเข้ารับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้เพิ่มขึ้น
- ระบบการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีการพัฒนาซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในระยะยาวทำให้อุบัติการณ์และการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง
- มีข้อมูลความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนที่สมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการบริการวัคซีนและการจัดบริการร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ
- เพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคประชาสังคม
- เด็ก 0 - 5 ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561 15:33 น.