กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมธารน้ำทิพย์
รหัสโครงการ 61-L4129-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ธารน้ำทิพย์
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มิถุนายน 2561 - 22 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ธารน้ำทิพพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.686,101.141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 มิ.ย. 2561 22 พ.ย. 2561 35,000.00
รวมงบประมาณ 35,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การประกอบอาชีพเกษตรกรรมถือเป็นกำลังสำคัญที่เป็นรากฐาน ทางเศรษฐกิจของชาติ การดูแลสุขภาพเกษตรกรจึงเป็นงานสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูและวัชพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรู และวัชพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯ ที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ จากข้อมูลตั้งแต่ปี 2546-2555 พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ1,734 ราย สำหรับผลการตรวจปี 2555 ทำการตรวจเกษตรกรไปทั้งสิ้น 244,822 ราย พบเกษตรกรที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 75,749 ราย คิดเป็น 30.94% ขณะที่ปี 2556 ทำการตรวจเกษตรกรไปทั้งสิ้น 314,805 ราย ในจำนวนนี้พบผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 96,227 ราย คิดเป็น 30.54% และในปี 2557 ที่ได้ทำการตรวจเกษตรกรไปทั้งสิ้น 317,051 ราย พบว่าในจำนวนนี้ 107,820 ราย มีผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย นั่นหมายถึงจำนวน 34% หรือ 1/3 ของเกษตรกรมีความไม่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในการเกษตร จากการสำรวจพบว่าประชากรในพื้นที่ตำบลธารน้ำทิพย์เป็นพื้นที่ที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการคัดกรองและ เฝ้าระวังอย่างเร่งด่วน จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์ได้ตระหนักและเล็งเห็นปัญหาสุขภาพของเกษตรกรในตำบลธารน้ำทิพย์ จึงจัดทำ“โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมธารน้ำทิพย์”ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

 

0.00
2 2 เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด

 

0.00
3 3 เพื่อให้เกษตรกรมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

 

0.00
4 4 เพื่อค้นหา และติดตามผู้ป่วยโรคจากการประกอบอาชีพกเกษตรกรรม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 ขั้นเตรียมการ 4.1.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 4.1.2 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมธารน้ำทิพย์   4.2 ขั้นดำเนินการ 4.2.1 ซักประวัติ, ตรวจสุขภาพร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ 4.2.2เจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด 4.2.3 จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม 4.2.4จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และปัญหาของการป้องกันตนเอง จากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม 4.2.5จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม 4.2.6 จัดอบรมให้ความรู้และแนวทางการใช้ชีวภาพแทนการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม 4.2.7แจ้งผลเลือดที่เข้าร่วมการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด
4.2.7.1 ในกรณีผลเลือดปกติ แนะนำการใช้ชีวภาพแทนสารเคมี 4.2.7.2 ในกรณีเลือดผิดปกติ จะร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เลือดผิดปกติ พร้อมทั้งชี้แนะเห็นให้โทษของการใช้สารเคมี แล้วนำไปสู่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีโดยใช้ชีวภาพแทน มีการติดตามสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และนัดเจาะเลือดซ้ำอีก 1 เดือน
4.3 สรุปผลการการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น 2 ร้อยละ 100 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือ 3 ร้อยละ 50 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการปฏิบัติตนการป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561 16:17 น.