กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมให้ความรู้ป้องกันการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
รหัสโครงการ 60-50105-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวง (ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านจันนา)
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทยและพบมากในสตรีช่วงอายุ 30 -70 ปี ร้อยละ 50 ของประชากรทั่วประเทศ และประมาณ 2 ใน 3 ของจำนวนประชากร เป็นกลุ่มวัยทำงานดังนั้นสตรีวัยทำงาน เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม สาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นมะเร็งเต้านม มีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธ์ุ วิถีชีวิตการบริโภค แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มสตรีเป้าหมายหรือทั่วๆ ไป สามารถดูแลและป้องกันตนเอง จากโรคมะเร็งเต้านมได้ ตั้งแต่ในระยะแระ ๆ ด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับการรักษาและดูแลได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งมีโอกาสหายขาดได้ ในขณะเดียวกันถ้าไม่มีการดูแลตนเองด้วยการตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำแล้ว สตรีที่ไปพบแพทย์เมื่อเป็นมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรง ทำให้ขาดโอกาสในการหายจากโรค ซึ่งต้องสูญเสียทรัพยากรในการรักษา ทั้งในด้านส่วนบุคคลและประเทศชาติ คณะอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา ได้เล็งเห็นความสำคัญ เพื่อส่งเสริมการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นการเฝ้าระวังและดูแลสตรีเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านจันนา จากโรคมะเร็งเต้านม ด้วยการส่งเสริมให้สตรี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม และมีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อค้นหาความผิดปกติอย่างถูกต้องเป็นประจำทุกเดือน และหากพบความผิดปกติ ต้องรีบพบบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มเป็น ซึ่งเป็นการลดภาวะด้านการเจ็บป่วย การรักษา และสิ่งสำคัญ คือ เป็นการเริ่มต้นการสร้างเสริมศักยภาพสตรีเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการเริ่มต้น การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30 - 70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพโดยการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สตรีอายุ 30 - 70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพโดยการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

2 เพื่อให้สตรี อายุ 30 -70 ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างถูกต้องและตรวจหลัง ประจำเดือน หมด 3 -7 วัน ทุกเดือน หรือตรวจทุกวันที่เดียวกันของทุกเดือนในกรณีหมดประจำเดือน

สตรี อายุ 30 -70 ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างถูกต้องและตรวจหลัง ประจำเดือน หมด 3 -7 วัน ทุกเดือน หรือตรวจทุกวันที่เดียวกันของทุกเดือนในกรณีหมดประจำเดือน

3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่ม ให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

พบผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่ม ให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมในสตรีที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป

ลดอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมในสตรีที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 เม.ย. 60 ให้ความรู้การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 70 3,475.00 3,475.00
รวม 70 3,475.00 1 3,475.00

ขั้นตอน กิจกรรมและวิธีการดำเนินงาน 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะมวง 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ และให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3. ฝึกปฏิบัติให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง ได้อย่างถูกวิธี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4. บันทึกผลการตรวจในปฏิทินบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กรณีผลการตรวจด้วยตนเองมีความผิดปกติ จัดให้มีการตรวจซ้ำด้วยเจ้าหน้าที่ และส่งต่อเข้ารับการตรวจรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐานในลำดับต่อไป 5. ติดตามเยี่ยมกรณีผลการตรวจผิดปกติ และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ เรื่อง โรคมะเร็งเต้านมและตระหนักถึงการดูแลการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  2. ร้อยละ 95 สตรีกลุ่มเป้าหมาย ตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
  3. ลดอัตราการป่วยโรคมะเร็งเต้านม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2560 09:54 น.