โครงการ ขยะสร้างค่า ลดโรคร้าย คลายโรคร้อน
ชื่อโครงการ | โครงการ ขยะสร้างค่า ลดโรคร้าย คลายโรคร้อน |
รหัสโครงการ | 61-L2483-2-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านปะดะดอ |
วันที่อนุมัติ | 26 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงเรียนบ้านปะดะดอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.142,102.07place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ปัญหาขยะมีแต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆหากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คน จะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 2.56 กิโลกรัมต่อวันจึงเป็นภาระหนักของตำบลนานาคในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้นซึ่งแน่นอนว่าขยะยิ่งเยอะก็ยิ่งไม่สามารถกำจัดขยะได้หมดสิ้นส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันทำให้ส่งกลิ่นเน่าเห็นรบกวนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมายได้แก่บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามองเสียทัศนียภาพส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆจนเป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคต่างๆเช่นหนูแมลงสาบแมลงวันทั้งยังเป็นแห่งแพร่เชื้อโรคโดยตรงเช่นอหิวาตกโรคอุจจาระร่วงบิดโรคผิวหนังบาดทะยักโดรคทางเดินหายใจเกิดการปนเปื้นของสารพิษเช่นตะกั่วปรอทลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำแหล่งน้ำเน่าเสียท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละอองเขม่าควันจากการเผาขยะ และเกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะและขยะบางชนิดไม่ย่อยสลายและกำจัดได้ยากเช่น โฟมพลาสติกทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อมซึ่่งในแต่ละวันคนเรามีโอกาสได้รับผลกระทบต่อด้านสุขภาพตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนสะสมในระยะยาวจนเป็นโรคที่อันตรายได้โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยโดยรอบชุมชนดั้งนั้นโรงเรียนบ้านปะดะดอได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดจากขยะจึงได้จัดทำโครงการขยะสร้างค่าลดโรคร้ายคลายโลกร้อน ขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์ให้นักเรียนชาวบ้านในชุมชนรู้จักการบริหารขยะในชุมชนและเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะเพิ่มมูลค่าจากขยะโดยนำมาแปรรูปเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆพร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนโดยมีกระบวนการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและให้ประชาชนมีบทบาทในการวางแผนการบริหารงานและการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นการสร้างรายได้สร้างความเข้มแข็ง และเพื่อสามารถพึ่งพาตัวเองได้ของชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อสร้างคุณค่าให้ขยะ 2.เพื่อเพิ่มรายได้ให้นักเรียนและชาวบ้านในชุมชน 3.เพื่อสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับนักเรียนและทุกครัวเรือนในชุมชน 4.เพื่อให้นักเรียนและชาวบ้านในชุมชนมีสุขภาพกายใจที่ดี ปลอดโรค ครัวเรือนในชุมชนมีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ร้อยละ 80 ,ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 80 |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ขั้นตอนการวางแผนงาน
1.1สำรวจพื้นที่ในชุมชนเพื่อหาปัญหาของชุมชน
1.2 ประชุมปรึกษาหารือกับชุมชนและเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อเขียนโครงการ
1.3 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนเพื่อคิดกิจกรรมต่างๆในโครงการ
1.4 จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการฯ
2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
2.1แต่งตั้งคณะกรรมการประชุมเตรียมงาน
2.2 จัดกิจกรรมตามที่กำหนดดังนี้
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กับนักเรียน และแกนนำชุมชน เรื่อรณรงค์แยกขยะลดโรคร้าย คลายโลกร้อน
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กับนักเรียน และแกนนำชุมชนเรื่องการจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล
กิจกรรมที่ 3 จัดตั้ง"ร้านค้า 0 บาท" (ร้านค้าที่ใช้วัสดุรีไซเคิลแทนเงินสด) โดยให้นักเรียนและประชาชนในชุมชนเป็นคณะกรรมการดำเนินการร้านค้าฯ
กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งกลุ่มจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล(โดยมีนักเรียน และประชาชนในชุมชนเป็นสมาชิกกลุ่ม)
3.ขั้นตอนการประเมินผลโครงการ
- ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือดังนี้
1.ร้อยละ 80 ของครัวเรือนในชุมชนมีการแยกขยะประจำครัวเรือน
-ประเมินจากแบบบันทึกการแยกขยะประจำครัวเรือน
2.ภายในโรงเรียนและชุมชนมีการจัดตั้ง ร้านค้า 0 บาท จำนวน 1 แห่ง และมีการจัดตั้งกลุ่ม
- แปรรูปสินค้าจากขยะรีไซเคิล
3.ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชนเจตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนานาคมีความพึงพอใจในผลสำเร็จของโครงการ
- ประเมินจากการทำแบบทดสอบความพึงพอใจ
4.ขั้นตอนการสรุปผลเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อไป
ประชุมถอดบทเรียนเพื่อสรุปผลความสำเร็จและหาอุปสรรคการทำงานแล้วนำไปแก้ไขในการดำเนินโครงการครั้งต่อไป
1.ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี 2.ชุมชนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการแยกขยะ 3.นักเรียนและชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เสริม 4.มีความยั่งยืนในการจัดทำโครงการโดยการบริหารของคนในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2561 09:34 น.