กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน ตำบลบาโหย ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5259-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอกชัย รัตนมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.396,100.884place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ ของการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน
80.00
2 ร้อยละ ของการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน เป็นหนึ่งในโครงการร่วมเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยใช้กลไก “เครือข่ายหมออนามัยและ อสม.” ซึ่งมีกระจายอยู่ทุกตำบลและหมู่บ้านทั่วประเทศ และ เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดประชาชนในระดับพื้นที่มากที่สุด สร้าง “กิจกรรมลงมือทำ (Action-based activity)” ควบคู่ไปกับ “กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแส (Campaign-based activity)” โดยที่กิจกรรมรณรงค์มุ่งให้ข้อมูลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “ทัศนคติ” ส่วนกิจกรรมลงมือทำมุ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยกระบวนการกลุ่ม โดยโครงการนี้จะทำการ “สร้างกลุ่มลงมือทำพฤติกรรมบางอย่างร่วมกัน” ซึ่งในที่นี้ คือ การตั้ง “กลุ่มคนรักษ์สุขภาพ ทำกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เลิกบุหรี่ (เลิกเหล้า)ร่วมกัน”
ซึ่งจะเน้น “ลงมือทำสร้างพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง” ควบคู่ไปกับ “รณรงค์สร้างกระแสใหญ่เป็นระยะ” โดยโครงการนี้จะจัดให้มีการทำกิจกรรมออกกำลังกายในระดับตำบลทุกสัปดาห์ (ซึ่งแต่ละหมู่บ้านสามารถเป็นตัวแทนระดับตำบลเวียนกันจัดกิจกรรมได้) และจะเชิญคนสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เลิกบุหรี่ (เลิกเหล้า) ร่วมกันทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง (ในเบื้องต้นจะดำเนินการเฉพาะการสำรวจความชุกการสูบบุหรี่และชักชวนเลิกบุหรี่เท่านั้น) และกำหนดเพิ่มเติมให้พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ต้องได้รับการประเมินอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดภารกิจให้หน่วยบริการ ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน และพัฒนาศักยภาพชมรมสร้างสุขภาพเครือข่ายระดับตำบลให้มีมาตรฐานจึงเป็นการสร้างสุขภาพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างชุมชนตระหนักรู้ถึงโทษภัยจากการสูบบุหรี่

จำนวนผลการสำรวจการใช้บุหรี่ ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 (ในประชาการ 15 ปีขึ้นไป ตรวจผลงานจาก HDC กระทรวงสาธารณสุข)

50.00
2 เพื่อสร้างแกนนำรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ฯ และชักชวนเลิกบุหรี่

ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ /ตัวอย่างผู้เลิกบุหรี่สำเร็จในชุมชน /แกนนำปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (คิดจากอัตราการนำส่งแบบสำรวจการแนะนำชักชวนเลิกบุหรี่)

95.00
3 เพื่อประกาศพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ตามกฎหมาย

พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ประกาศห้ามสูบบุหรี่ ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย แจ้งผลการดำเนินการแก่สาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย
  2. ประสานเครือข่ายชุมชน องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เครือข่าย อสม. เครือข่ายผู้นำชุมชน องค์กรภาครัฐที่ประกาศพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่
  3. จัดตั้งเครือข่ายคณะกรรมการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในระดับตำบล ประชุมวางแผนดำเนินการ (นำโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน/เจ้าพนักงานตามพรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่)
  4. จัดกิจกรรมรณรงค์แบบสำรวจโดย อสม. และเคาะประตูบ้านชวนเลิกบุหรี่ (สุรา) ติดประกาศ เอกสารเชิญชวน ติดตามประเมินผลการเลิกบุหรี่ การกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่(เฉพาะพื้นที่ส่วนราชการ)
  5. ประกวดและมอบรางวัลผู้เลิกบุหรี่ (เลิกสุรา) รางวัลผู้นำสุขภาพด้านการเชิญชวนลดละเลิกบุหรี่(สุรา) โดยฉันทามติของเครือข่ายคณะกรรมการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในระดับตำบล
  6. ประเมิน และรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนตระหนักถึงโทษภัยจากการสูบบุหรี่ และให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบ
  2. ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ เป็นตัวอย่างให้ผู้เลิกบุหรี่สำเร็จในชุมชน
  3. พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ประกาศห้ามสูบบุหรี่ ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2561 15:54 น.