กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกรักฟันดี เริ่มที่เครือข่ายผู้ดูแล ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5192-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าไทร
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 83,035.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัลมา การดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 422 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 3 ปี พ.ศ. 2560 ในพื้นที่อำเภอเทพา พบว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ 56.6 ค่าเฉลี่ย 2.9 ซี่ ต่อคน และจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กที่มารับบริการในคลินิกเด็กดี ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร จำนวน 106 คน พบว่าเด็กไม่ได้แปรงฟันก่อนนอน จำนวน 98 คน เด็กดื่มนมรสหวาน 85 คน และเด็กรับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาล จำนวน 74 คน จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและสภาวะฟันผุในกลุ่มเด็กเล็กมีปัญหาสูงมากจนน่าเป็นห่วง การที่เด็กมีปัญหาฟันผุ จะทำให้เกิดอาการปวด อันจะส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ พัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพในวัยปฐมวัยเป็นอย่างมาก หากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปาก สอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ปกครอง ให้ตระหนักเห็นว่าเรื่องของสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ อาจทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กดีขึ้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กให้ความตระหนักและให้ความสนใจด้านสุขภาพช่องปากในเด็กมากยิ่งขึ้น และเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้งทันตบุคลากร ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร จึงร่วมกับเทศบาลตำบลลำไพลและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมี กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3 จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุโดยการทาฟลูออไรด์วาร์นิช

1.ร้อยละ 100 ของเด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2.ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีฟันขึ้นแล้ว ได้รับการทาฟลูออไรด์วาร์นิช

100.00
2 2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองอย่างเหมาะสม
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองมีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก สามารถสาธิตวิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กได้อย่างถูกต้องตามแบบประเมิน 4 ใน 5 ข้อ
  3. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มีค่าแผ่นคราบจุลินทรีย์เฉลี่ยลดลง
80.00
3 เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก
  1. ร้อยละ 100 เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข มีระดับคะแนนของแบบทดสอบหลังให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กเพิ่มขึ้น
100.00
4 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างเหมาะสม
  1. ร้อยละ 80 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีค่าแผ่นคราบจุลินทรีย์เฉลี่ยลดลง
80.00
5 เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก
  1. เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน Facebook Line ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
100.00
6 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ดูแลเด็กและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในชุมชน

เกิดองค์กรในการทำงานภายในชุมชนเพิ่มขึ้น

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 ก.ย. 61 การจัดซื้อจัดจ้าง 374 36,090.00 36,069.00
16 ม.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กตามช่วงอายุ 443 46,945.00 46,945.00
รวม 817 83,035.00 2 83,014.00
  1. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายหน่วยงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3 เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
  2. จัดตั้งมุมทันตสุขศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กตามช่วงอายุ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร ไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3
  3. สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน Facebook Line ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ และความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
  4. อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กตามช่วงอายุ และฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3
  5. ตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วาร์นิชให้เด็กโดยทันตบุคลากร
  6. อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องช่องปากเด็กตามช่วงอายุ และฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3
  7. ทันตบุคลากรร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ออกติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กโดยผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็ก มีความรู้ ความตระหนัก และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและของเด็กอย่างเหมาะสม
  2. เกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้ผู้มารับบริการได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในหน่วยงานสาธารณสุขในเขตเทศบาลตำบลลำไพล ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3
  3. เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อง่ายต่อการติดต่อประสานงาน การติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
  4. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับคำแนะนำ และส่งต่อมารับการรักษาที่จำเป็นที่โรงพยาบาล
  5. เด็กได้รับการแปรงฟันย่างสม่ำเสมอและสะอาด ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ปราศจากโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2561 10:16 น.