กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล/ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส (จิตอาสาประจำครอบครัว)
รหัสโครงการ 61-L5192-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4 บ้านแม่ที ตำบลลำไพล
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาลีขอ สาเม๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ( Selfcare) ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค และ การส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น อย่างเสมอภาคเป็นธรรมนั้น การที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องอาศัยกลยุทธ์ที่สำคัญประการหนึ่งคือการมีหมอประจำครอบครัว และระบบสุขภาพที่เอื้อต่อการเข้าถึง เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอและสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ และในขณะเดียวกันภายในครอบครัวและชุมชน ก็มีการดูแลสุขภาพตนเอง ปัจจุบันพบว่าการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลง บทบาทที่สำคัญของหมอครอบครัวนอกการดูแลแล้ว การหนุนเสริมให้เกิดการพึ่งตนเองของประชาชน (Empowerment) เป็นอีกบทบาทหนึ่งของหมอครอบครัว ในการเสริมพลังให้ผู้ป่วยหรือญาติ สามารถดูแลตนเองหรือญาติได้อย่างเหมาะสมเพราะแท้จริงแล้ว หมอครอบครัวที่ดีที่สุดคือคนในครอบครัว ญาติมิตรโดยความหมายของหมอครอบครัวคือแพทย์ที่สามารถดูแลรักษาสุขภาพ ให้ทุกคนในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เบ็ดเสร็จ ผสมผสานและต่อเนื่อง ทั้งสุขภาพกาย, สุขภาพจิตและสุขภาพของสังคมที่สมาชิกในครอบครัวอาศัยอยู่ งานของหมอครอบครัวจะเริ่มตั้งแต่ได้ตรวจดูแลรักษา หรือได้รับการปรึกษาปัญหาของสมาชิกคนใดคนหนึ่งใน ครอบครัว เป็น Index case ซึ่งจะเป็นบุคคลที่จะพาสมาชิกอื่นๆในครอบครัวมาทำความรู้จักกับหมอครอบครัว โดยหมอครอบครัวจะทำหน้าที่ทั้งเป็นแพทย์ที่คอยรักษาป้องกันโรคภัยต่างๆ เป็นครูที่คอยให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ เป็นเพื่อนรับฟัง-ปรึกษาความคิดเห็นต่างๆของครอบครัว เป็นผู้ติดต่อประสานให้การช่วยเหลือในกรณีที่ต้องปรึกษาหรือส่งต่อผู้ป่วยในครอบครัวที่ดูแล หรือติดต่อประสานงานกับบุคลากรอื่น ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักสังคมสงเคราะห์, เจ้าหน้าที่เทศบาล เป็นต้น หมอครอบครัวจึงเป็นผู้ที่ดูแลโรคภัยไข้เจ็บให้สมาชิกในครอบครัวทั้งในกรณีที่การเจ็บป่วยนั้นเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือพิการถ้ามิได้รับการบำบัดรักษา หรือเป็นโรคซึ่งหายเองได้, ป้องกันได้ หรือเกี่ยวข้องกับจิต-อารมณ์และสังคม
ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4, 10 และ 13 จึงได้จัดตั้งทีม “จิตอาสาประจำครอบครัว” ในการเยี่ยมบ้านทั้งในงานส่งเสริมสุขภาพและในผู้ป่วยติดเตียงรวมถึงผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นการดำเนินงานลักษณะจิตอาสาใกล้บ้านซึ่งพื้นฐานเดิมของ อสม.รู้จักและใกล้ชิดชุมชนอยู่แล้วจึงมีความพยายามสร้างความเข้มแข็งในการลงพื้นที่เพื่อเป็นการดูแลต่อเนื่องร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล/ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส(หมอประจำครอบครัว) เพื่อเสริมสร้างพลังแก่ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายให้สามารถช่วยเหลือ ดูแลสุขภาพของครอบครัวตนเองได้ โดยมี “จิตอาสาประจำครอบครัว” คอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน โดยมีการพัฒนาทีม FCT, พัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านให้มีคุณภาพ มุ่งสู่การบริการแบบไร้รอยต่อ อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ และ ออกแบบการทำงานร่วมกันของทีมจิตอาสา “จิตอาสาประจำครอบครัว”
  1. ร้อยละ100 ของผู้พิการได้รับการขึ้นทะเบียน และรับสวัสดิการทางการแพทย์ หรือทางสังคม 
100.00
2 2. เพื่อพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านให้มีคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการ
  1. ร้อยละ 100 ของผู้พิการได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี 
100.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้ ครอบครัว ชุมชน ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้
  1. ร้อยละ 100 ของผู้พิการในชุมชนได้รับการดูแลอย่างครบถ้วน
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,700.00 0 0.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติและมารยาทในการใช้ชีวิตประจำวัน สู่หนทางศสนาอิสลามเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 0 4,700.00 -

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพคนพิการ โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1.1อบรมการดูแลสุขภาพ และการฝึกปฏิบัติต่อผู้ป่วยผู้พิการ (อสม. แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ดูแล ผู้พิการ ) จำนวน 115คน
1.2 เยี่ยมบ้าน และตรวจสุขภาพ ผู้พิการ จำนวน 36 คน ร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ PCU กิจกรรมที่ 2 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดรูปแบบการเยี่ยมของจิตอาสาตามบริบทพื้นที่ที่มีการวิเคราะห์โดยชุมชน 2.มีการพัฒนาระบบการเยี่ยมของชุมชนอย่างมีคุณภาพ 3.คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามความเหมาะสม สามารถให้ความช่วยเหลือดูแลคนพิการกันเองในกลุ่ม และสามารถดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2561 11:46 น.