กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดโรคมือเท้าปาก เด็กน้อยปลอดภัยมีสุขภาพดี ตำบลมะกรูด
รหัสโครงการ 61-L2985-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสากียะห์ เจ๊ะสมอเจ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ก.ค. 2561 28 ก.ย. 2561 17,000.00
รวมงบประมาณ 17,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคติดต่อ มือเท้าปาก
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมือ เท้า ปากนับว่าเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศมาเลเซีย มักจะพบผู้ป่วยตลอดปี และจะพบการระบาดทุกๆ 3 ปี ในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2560 เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศ 1,374 ราย ซึ่งสูงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาในเดือนพฤษภาคม 2560 กระทรวงสาธารณสุข รายงานผู้ป่วยสูงสุด โดยพบผู้ป่วยร้อยละ เกินค่า threshold โดยเป็น 644 รายต่อสัปดาห์ ในจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซียและมีประชากรจำนวนมากเดินทางไปมาเพื่อทำงานและอยู่อาศัยในประเทศมาเลเซียมายาวนาน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2561 จังหวัดปัตตานีได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก จำนวนทั้งสิ้น 107 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 15.48 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง เท่ากับ 1.38 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0-4 ปี อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 199.13 เมื่อเปรียบเทียบกับมัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี พบว่าในช่วงเดือนมิถุนายนพบสูงกว่าค่ามัธยฐาน ประมาณ 3 เท่า สำหรับอำเภอโคกโพธิ์พบว่า จากข้อมูลสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561-22 เมษายน 2561 เป็นเมื่อคิดอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 15.9 นับเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากอำเภอทุ่งยางแดง มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 39 ราย เป็นเด็กเล็กอายุไม่เกิน 10 ปีทั้งหมด แบ่งออกเป็นที่กำลังศึกษาในโรงเรียนและอยู่ในปกครองปะปนกัน เมื่อตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่พบว่าผู้ป่วยหลายรายอยู่ในพื้นที่ตำบลมะกรูด และพบระบาดต่อเนื่องในโรงเรียน ทางทีมสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์เล็งเห็นความสำคัญต่อสุขภาวะในชุมชน จึงประสานกับเทศบาลมะกรูดเพื่อจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปากในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยสิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยให้การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในชุมชนประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเกิดจากความตระหนัก ความร่วมมือของบุคลากรทุกภาคส่วนและทุกระดับ ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและเด็กๆได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพครอบคลุมทุกด้าน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย เอื้อต่อการมีสุขภาพกายและใจดี ควบคุมและป้องกันโรคมือเท้าปากในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดโรคมือเท้าปาก เด็กน้อยปลอดภัยมีสุขภาพดี ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ปีพ.ศ.2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชน ให้ปลอดภัย ปลอดโรค

 

0.50
2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยสุขอนามัย

 

1.00
3 เพื่อให้ อสม.และผู้ปกครองได้รับความรู้และตระหนัก ถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปาก

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,000.00 1 17,000.00
23 พ.ค. 62 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องและจัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพ 0 17,000.00 17,000.00

1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. จัดทำแผนและดำเนินงานตามโครงการฯ ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 3.1 จัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการ และร่วมวางแผนการดำเนินโครงการ 3.2 จัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ร่วมกับตัวแทนผู้ปกครองเด็ก เพื่อให้มีความรู้ในการดูแลเด็กให้มีพัฒนาการดี ปลอดโรค ปลอดภัย สร้างความตะหนักถึงความสำคัญของสุขภาพเด็กที่จะส่งผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกาย และจิตใจ ในช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแล 3.3 ร่วมกับครูผู้ดูแลเด็ก จัดกิจกรรม เสริมทักษะการดูแลตนเองให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือ ทักษะการแปรงฟัน การเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง
3.4 ร่วมกับชุมชนในการรณรงค์พัฒนาสิ่งแวดล้อม ภายในชุมชน ให้ปลอดภัย ปลอดโรค เช่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรค ปรับปรุงห้องนอน ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ปรับปรุงโรงครัว/โรงอาหาร ให้เหมาะสม เน้นศูนย์เด็กเล็กในชุมชน 4. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในชุมชน โดยติดไวนิลและแจกแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ 5.ประเมินผลและสรุปการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชน/ผู้ปกครองเด็ก/ผู้ดูแล มีความตระหนักความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก มากขึ้น
  2. ชุมชน/ศพด.โรงเรียน มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ปลอดโรคด้วยตนเอง
  3. ลดการระบาดของมือ เท้า ปาก ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 08:01 น.