โครงการสงสารลูกน้อยเฝ้าคอยวัคซีน ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการสงสารลูกน้อยเฝ้าคอยวัคซีน ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L5259-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย |
วันที่อนุมัติ | 9 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 9 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 27,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสูไรยา เจ๊ะเซ็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.396,100.884place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน) | 60.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้หน่วยบริการ จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้สามารถดำเนินการคลอบคลุมตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขฯ พ.ศ.2547 เอกสารแนบท้าย ลงวันที่ 25 มีนาคม 2557 ทุกรายการ งานสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรค โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบจามจำนวนครั้งที่กำหนด ภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำ และประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่ได้มาตรฐาน เทคนิคการให้บริการหรือการฉีดวัคซีน ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโหย มีประชากรเด็กอายุ 0 - 5 ปี (ไม่รวมนอกเขต) จำนวน 431 คน เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ จำนวน 327 คน คิดเป็นร้อยละ 75.87 ได้รับวัคซีนช้ากว่าเกณฑ์อายุ 104 คน คิดเป็นร้อยละ 24.13 และที่ไม่ได้รับวัคซีนเนื่องจากผู้ปกครองไม่ยินยอม 13 คน คิดเป็นร้อยละ 3.02 ซึ่งพบว่ายังเป็นปัญหาในการดูแลสุขภาพของเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโหย ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค จึงจัดทำ โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0- 5 ปี เพื่อให้การพัฒนางานสาธารณสุขของตำบลบาโหย มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและแนวโน้มสุขภาพอนามัยอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่นฯอย่างต่อเนื่องต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์ จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน) |
60.00 | 85.00 |
2 | เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5ปี เข้าถึงวัคซีนครบชุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 |
70.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กอายุ 18 เดือน ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 |
85.00 | |
4 | เพื่อสื่อสารชุมชนและสร้างแกนนำด้านการป้องกันโรคด้วยวัคซีน กลุ่มแกนนำวัคซีนในชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม ไม่น้อยกว่า 20 คน |
20.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,600.00 | 1 | 27,600.00 | 0.00 | |
7 ก.ย. 61 | มีการประชาสัมพันธ์ให้เด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มารับบริการวัคซีนให้ครบ ดำเนินการฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ 0-5 ปี จนครบตามเกณฑ์ จำนวน 86 คน มีการจัดประกวดเด็กดี วัคซีนครบ และมอบเกียรติบัตรให้เด็ก จำนวน 86 คน | 0 | 27,600.00 | ✔ | 27,600.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 27,600.00 | 1 | 27,600.00 | 0.00 |
- จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย
- สำรวจหากลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับ อสม.และผู้นำชุมชน
- ประชุมกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีในตำบล รวบรวมข้อมูลประวัติการรับวัคซีนของเด็กอายุ0-5ปี และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน ตามเกณฑ์ จาก รพ.สต. 6.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับทัศนคติและลด ความวิตกกังวล
- ร่วมมือกับผู้นำชุมชน .ผู้นำศาสนา อบต.และอสม.ในการประชาสัมพันธ์การบริการรับวัคซีนให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองในพื้นที่
- ดำเนินกิจกรรมรณรงค์
5.1 สำรวจหากลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับ แกนนำสำรวจเชิงลึกในประชากรแรกเกิด-5 ปี อสม.และผู้นำชุมชน
5.2 ประชุมกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีในตำบล รวบรวมข้อมูลประวัติการรับวัคซีนของเด็กอายุ0-5ปี และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน ตามเกณฑ์ 5.3 จัดทำเอกสารับรอง ประกาศนียบัตร และมอบรางวัลการประกวดหนูน้อยสุขภาพดีมีวัคซีนครบถ้วนแก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ (เมื่อฉีดครบชุด คือ อายุ 4-5 ปี) - ประเมิน และรายงานผล
- เด็กอายุ 18 เดือนมีพัฒนาการสมวัยและได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
- เด็กแรกเกิด-5ปี เข้าถึงวัคซีนครบชุดเพิ่มขึ้น
- กลุ่มแกนนำวัคซีนในชุมชนสามารถสื่อสารแก่ชุมชน และขับเคลื่อนงานได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 08:58 น.