กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT และศูนย์ประสานงานระบาดวิทยาประจำตำบลบาโหย ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5259-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอกชัย รัตนมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.396,100.884place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบาโหยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเขตชายแดนภาคใต้มีโรคระบาดและโรคประจำถิ่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนูซึ่งเป็นพื้นที่รังโรคและมีประวัติผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะไข้มาลาเรียสูงสุดในจังหวัดสงขลามีประวัติการเสียชีวิตจากเชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง (p.f.) โดยขณะนึ้มีการระบาดในเชื้อชนิด p.v.(ปี 2560 จำนวน 83 ราย) แม้จะมความรุนแรงน้อยกว่า แต่การรักษา ควบคุมโรคทำได้ยากกว่า นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น ประวัติการเสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ เป็นต้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วย ผู้ป่วยสงสัยโรคไอกรน อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีอัตราต่ำกว่าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่มีการปฏิเสธวัคซีน การเคลื่อนย้าย และประชากรแฝงในพื้นที่จำนวนมาก ทั้งไทยและต่างด้าว ทำให้มีความเสี่ยงสูงสุดในพื้นที่จังหวัดสงขลา
จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้หน่วยบริการในพื้นที่ละเครือข่ายชุมชน (SRRT) ในการเตรียมความพร้อม ด้านคน เงิน ของ เพื่อการตอบโต้สถานการณ์อย่างทันท่วงที อันจะหยุดยั้งการระบาดและสูญเสียชีวิตของประชากรในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยนายอำเภอสะบ้าย้อยกำหนดให้ รพ.สต.เป็นศูนย์ระบาดวิทยาระดับตำบล ทำหน้าที่ควบคุมร่วมมือกับเครือข่ายชุมชน ผู้นำชุมชนอสม. องค์กรรัฐ และเอกชน ต่อสู้กับปัญหาโรคติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดภารกิจให้หน่วยบริการ ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค (โรคติดต่อ) และเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานการควบคุมโรค (มาตรฐาน DHS/SRRT) และให้สามารถป้องกันโรคประจำถิ่นโรคระบาดในพื้นที่ (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559 / ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559เป็นต้น)และพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมโรคเครือข่ายระดับตำบลให้มีความพร้อมในการตอบโต้โรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของศูนย์ประสานงานระบาดวิทยาระดับตำบล ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์ฯมีความพร้อมในการควบคุมโรค (ตรวจรับรองเกณฑ์โดยผู้ประเมินจาก สสอ.)

100.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ให้สามรถปฏิบัติงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐาน

เครือข่ายควบคุมโรคผ่านการประเมินมาตรฐานในระดับอำเภอ

100.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย
  2. ขอปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการควบคุมโรค/SRRT/และหรือคณะกรรมการอื่นใดตามกฏหมายกำหนด
  3. ประชุม ทบทวน/เสริมยุทธศาสตร์/ทักษะ/องค์ความรู้ใหม่ แก่ทีม SRRT ตำบลบาโหย
  4. ดำเนินกิจกรรมในศูนย์ประสานงานระบาดวิทยาฯ 4.1 ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ และซ่อมแซมปรับปรุงในส่วนที่ชำรุด จัดหาวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการควบคุมโรคให้เหมาะสม ทันเวลา และเพียงพอ 4.2 ประชุม ติดตาม สำรวจ ตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบชุมชน บ้านเรือน หน่วยงาน สื่อสาร รายงานผล 4.3 ควบคุมโรคในพื้นที่ตามมาตรฐาน SRRT ทำลายแหล่งรังโรค พาหะ สิ่งแวดล้อมที่เป็นภัยสุขภาพ(เน้นควบคุมโรคแบบวงแคบเฉพาะจุด และอาศัยพลังชุมชน ตรวจสอบการปฏิบัติของหน่วยงานรัฐให้สอดคล้องกับ
    นโยบายของนายอำเภอสะบ้าย้อย) 4.4 ป้องกันโรคโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน เยี่ยมบ้านตรวจสอบติดตามผู้ป่วย 4.5 ประกวดนักระบาดดีเด่นระดับหมู่บ้าน/ตำบลเพื่อรับมอบรางวัล (ส่งประกวดในระดับอำเภอ หากเป็น อสม.จะได้รับคัดเลือกให้ประกวด อสม.ดีเด่น)
  5. รับการประเมินผล และรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ศูนย์ประสานงานฯ มีประสิทธิภาพในระบบป้องกันและควบคุมโรคตามมาตรฐาน DHS
  2. ทีม SRRT สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 11:03 น.