กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
รหัสโครงการ 60-L3032-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสาธารณสุขมูลฐานบ้านยือแร
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤษภาคม 2561 - 14 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอนิง ซอแนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.769,101.299place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
5.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทางประชารัฐ เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดการขยะในระยะสั้นของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนโดยทั่วไป ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการลดขยะที่ต้นทาง เพื่อให้วางรากฐานการดำเนินการการจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน คือการลดปริมาณขยะจากแหล่งต้นทาง (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Recycle)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือหลักการ ๓Rs ซึ่งการจัดการขยะนั้นมุ่งเน้นการลดปริมาณขยะจากครัวเรือน
คณะทำงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นหน่วยงานปฏิบัติการในระดับพื้นที่ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ติดตามประเมินผล และประสานการดำเนินงานในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุน ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน โรงเรียนหรือภาคส่วนและประชาชนในท้องถิ่นมีการดำเนินการ ลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ตามหลัก ๓Rs พร้อมกับส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดชุมชน/หมู่บ้านต้นแบบการบริหารจัดการขยะ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชน/หมู่บ้านหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถหรือแนวทางการดำเนินงานการจัดการขยะในชุมชนในปัจจุบันการให้ความรู้ความเข้าใจ การส่งเสริมและการประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ให้ประชาชนมีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนหรือจากแหล่งกำเนิด ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปกำจัดได้อย่างประสิทธิภาพและทันต่อเวลาไม่มีขยะมูลฝอยตกค้างเกิดขึ้น การเข้าถึงความรู้ดังกล่าว ควรผ่านกระบวนการประชุมสัมมนา การศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานหรือท้องถิ่นอื่น ทางคณะทำงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะทำงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางและบทบาทตามแผนปฏิบัติการ “ประเทศไร้ขยะ”

 

0.00
2 เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานภายใต้หลัก “บวร” ในครัวเรือน โรงเรียน สถานศึกษา สถานประกอบการเอกชนและศาสนสถาน เพื่อเป็นกลไกหลักในการดำเนินการ

 

0.00
3 เพื่อเกิดการพัฒนา ส่งเสริมและยกระดับหรือการดำเนินการใดๆ ที่ชุมชนได้ดำเนินการเกี่ยวกับการลด คัดแยกและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยให้กับภาคส่วนอื่นๆได้ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่สังคมไร้ขยะ Zero waste society

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,250.00 0 0.00
10 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน 0 5,250.00 -
13 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 2 ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการขยะ 0 17,000.00 -

1.จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ยะรัง เพื่อขออนุมัติโครงการ 2. ประชุมชี้แจงคณะทำงานในการจัดการโครงการ 3.ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน 4.ดำเนินการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการขยะในครัวเรือนโดยชุมชน 5 กิจกรรมถอดทบเรียน 6 ประเมินและติดตามแนวทางการดำเนินงานโครงการ 7 รายงานผลการประชุมของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมการอบรมมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและสามารถนำไปบูรณาการการดำเนินงานภายใต้หลักการ “บวร” ในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ต่อไป
  2. ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน มีกิจกรรมการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์จากขยะมากขึ้น
  3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเต็มพื้นที่ เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 21:51 น.