กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ตำบลป่าพะยอม
รหัสโครงการ 61-L8416-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.ป่าพะยอม
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาลีแก้วสม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.86,99.947place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 28 ก.ย. 2561 11,800.00
รวมงบประมาณ 11,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทยรองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ10,000รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก5,000รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก 7 คน/วัน เป็น14คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ30 – 40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงทีฉะนั้นจำเป็นจะต้องกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง จากผลการคัดกรองมะเร็งเต้านมของจังหวัดพัทลุง ปี 2560 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่จำนวน 175 คน พบระยะที่ 1 และ 2 จำนวน 86 คน มีผู้ป่วยรายเก่ายกมาจากปี 2559 จำนวน 734 คน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกจำนวน 25 คนอำเภอป่าพะยอม พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่จำนวน 3 คน ผู้ป่วยรายเก่ายกมาจากปี 2559 จำนวน 33 คนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของจังหวัดพัทลุงปี 2560 พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่จำนวน 32 คน ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายเก่ายกมาจากปี 2559 จำนวน 235 คน เสียชีวิต 1 คน ของอำเภอป่าพะยอม ปี 2560 ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ มีผู้ป่วยรายเก่ายกมาจากปี 2559 จำนวน 33 คน ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลป่าพะยอม ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้น เพื่อให้กลุ่มสตรีได้มีความรู้ และมีความตระหนักถึงอันตราย และได้ตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และตระหนักถึงอันตรายจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ข้อที่ 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและสนใจตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนและให้ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็ง เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราตายของโรคมะเร็งทั้งสองชนิด ข้อที่ 3.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.จำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่ และได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี pap smear

3.จำนวนผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแต่ละหมู่บ้าน พร้อม อสม.เพื่อกำหนดแนวทางและวางแผนการดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติ 3.ประชาสัมพันธ์ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการที่หมู่บ้านและโรงพยาบาลตามแผน
4.ให้ความรู้และฝึกทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติให้มีการตรวจซ้ำโด เจ้าหน้าที่ และส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป 5.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี pap smear
6.จัดทำทะเบียนผู้รับบริการตรวจคัดกรอง และติดตามการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนๆละ
1 ครั้ง และตรวจมะเร็งปากมดลูกปีละ 1 ครั้ง 7.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4.พบมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2561 11:06 น.