โครงการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2561
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L5282-1-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 |
วันที่อนุมัติ | 28 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 14 สิงหาคม 2561 - 17 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 33,825.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวผุสร์สวดี ศิริหิงค์โค |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวสาวิตรี อนันตะพงษ์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.903,99.932place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 355 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัณโรค(Tuberculosis:TB)เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศ ปัจจุบันทั่วโรคมีผู้ติดเชื้อวัณโรคประมาณ 2 พันล้านคนหรือเกือบ 1ใน3 ของประชากรทั่วโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต 1.90 ล้านคนในแต่ละปีประเทศไทยมีปัยจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาศทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างชาติผิดกฏหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ 92,300 คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ 44,475 คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ 12,089 ราย ซึ่งในอำเภอควนกาหลงพบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 16 รายและในตำบลอุใดเจริญพบจำนวน 1 ราย ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีและถูกต้องตามแนวทาง อาจก่อให้เกิดการระบาดของวัณโรคในอนาคตได้ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรค มี 7กลุ่ม ดังนี้
ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค
ผู้สูงอายุ
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดัน/COPD/Stroke/ไต/มะเร็ง)
ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDs
แรงงานต่างด้าว
ผู้ต้องขัง
ผู้ติดสุรา/ยาเสพติด
ดังนั่นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาวัณโรค จึงจัดทำโครงการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบยังยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 80 |
335.00 | |
2 | เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 100 |
335.00 | |
3 | ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของโรควัณโรค ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของวัณโรคร้อยละ 80 |
335.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 33,825.00 | 1 | 33,825.00 | 0.00 | |
1 เม.ย. 61 - 1 ก.ย. 61 | กิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง | 0 | 33,825.00 | ✔ | 33,825.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 33,825.00 | 1 | 33,825.00 | 0.00 |
จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการและรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
ประสานพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการ
ประสานวิทยากร กำหนดวัน เวลา และสถานที่ดำเนินการ
ให้ความรู้และคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงในการป้องกันและสังเกตอาการของโรควัณโรค ดังนี้
กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 2 เป้าหมาย 110 หมู่ที่ 2
กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 เป้าหมาย 94 หมู่ที่ 3
กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 เป้าหมาย 93 หมู่ที่ 5
กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 8 เป้าหมาย 58 หมู่ที่ 8
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค
ผู้ป่วยสงสัยวัณโรคที่ตรวจพบได้รับการรักษาทุกราย
ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องและสังเกตอาการของโรควัณโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2561 11:53 น.