กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (คนทำงานฟาร์มตัวอย่างต.ปิยามุมัง) ในพื้นที่ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (คนทำงานฟาร์มตัวอย่างต.ปิยามุมัง) ในพื้นที่ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L3045-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 18,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาร มูหะมะสาเล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณพรบัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ส.ค. 2561 24 ส.ค. 2561 18,200.00
รวมงบประมาณ 18,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แรงงานนอกระบบ( Informal Workers) คือ ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานที่เป็นทางการหรือไม่มีนายจ้างตามความหมายของกฎหมายแรงงาน ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของนายจ้าง ไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ที่ทำงานชั่วคราว แรงงานอกระบบจึงเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความคุ้มครองของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม ทำให้ไม่มีหลักประกันความมั่นคงใดๆ ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานที่มั่นคง ค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน และความมั่นคงในการดำรงชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยชรา ลักษณะอาชีพที่เป็นตัวอย่างของแรงงานนอกระบบ เช่น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับเหมาช่วงงานอุตสาหกรรมไปทำที่บ้าน (Industrial Outworkers) คนงานที่ทำงานไม่ประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างชั่วคราวตามฤดูกาล และลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา (Part-time workers) ลูกจ้างในโรงงานห้องแถว (Sweatshop)และคนงานที่ทำกิจการของตนเอง (Own Account Workers)อยู่ที่บ้านและโรงงานที่ไม่มีการตรวจสอบจดทะเบียนนอกจากนี้ยังหมายรวมถึงแรงงานอิสระที่ทำงานเพื่อความอยู่รอด เช่น หาบเร่ริมถนน คนขัดรองเท้า คนเก็บขยะ และแรงงานรับใช้ในบ้าน เป็นต้น โรคจากการประกอบอาชีพเกิดขึ้นทุกวันในทุกมุมโลก เมื่อเกิดกับบุคคลซึ่งอยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต สถานการณการเจ็บป่วยของแรงงานในระบบจากฐานข้อมูลประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๕๑ยังพบว่า มีผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานทั่วประเทศจำนวน ๑๗๖,๕๐๒ราย โดยจำแนกออกเป็นผู้ป่วยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากที่สุด จำนวน ๑๑๑,๗๔๐ราย รองลงมาได้แก่ เขตภาคกลาง จำนวน ๔๐,๘๙๒ราย เขตภาคใต้ จำนวน ๘,๒๒๐ราย เขตภาคเหนือ จำนวน ๘,๑๖๕ราย และเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๗,๔๘๕ราย ตามลำดับ การเจ็บป่วยจากการทำงานอาจเกิดได้หลายประการเช่นอาการปวดหลังปวดกล้ามเนื้อ พิษจากสารตะกั่ว โรคทางเดินหายใจ เครียด ฯลฯ
ตำบลปิยามุมังมีฟาร์มตัวอย่างพระราชดำริ ซึ่งมีชาวบ้านทั้งในเขตรับผิดชอบและนอกเขตรับผิดชอบที่ทำงาน โดยประมาณ 100 กว่าคน ลักษณะการทำงานแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เช่น กลุ่มเพาะปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด กลุ่มเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ วัว ปลานิล กลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์ แผนกคัดแยก แผนกขาย เป็นต้น ซึ่งทุกกลุ่มงานล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ที่อาจเกิดขณะทำงาน และอาการส่วนใหญ่ที่มารับบริการที่รพ.ส.ต.ในกลุ่มประกอบอาชีพทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมังจึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (คนทำงานฟาร์มตัวอย่าง ต.ปิยามุมัง) ในพื้นที่ตำบลปิยามุมัง ขึ้นเพื่อให้กลุ่มดังกล่าวได้รับการส่งเสริมสุขภาพและลดอาการความเจ็บป่วยจากการทำงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจประเมินและคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพและสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้น 2.2เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานและสามารถไปปฏิบัติและถ่ายทอดต่อได้ 2.3 เพื่อลดจำนวนผู้รับบริการที่มาด้วยอาการ/ โรคจากการประกอบอาชีพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18.00 1 18,200.00
21 พ.ค. 61 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 18.00 18,200.00

3.1 เขียนโครงการเสนอของบ 3.2 ประสาน/ ชี้แจงโครงการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 สนับสนุนการเฝ้าระวัง การสำรวจประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันโรคจากการทำงาน ให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบ 3.3.1 การสำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยง เช่น แบบประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างง่าย JSA: Job safety Analysis เป็นต้น 3.3.2 อสม.สำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงานโดยใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยงด้วยแบบสอบถาม 3.3.3 คัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้น 3.4 สนับสนุนการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจาการทำงาน 3.4.1 การปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการทำงานที่มีความเสี่ยง 3.4.2 การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.4.3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคลและกลุ่ม เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคจากการทำงาน เช่น การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น 3.5 ติดตามการดำเนินการและติดตามภาวะสุขภาพของแรงงานนอกระบบ 3.6 คืนข้อมูลให้แก่กลุ่มเป้ามาย 3.7 สรุป ค้นหา อุปสรรค ในการดำเนินงานครั้งนี้ เพื่อต่อยอดทำโครงการปีต่อๆไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจประเมิน คัดกรองความเสี่ยงร้อยละ 100 7.2 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับส่งเสริมสุขภาพและป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพร้อยละ 80 7.3 จำนวนผู้รับบริการด้วยโรคจากการประกอบอาชีพที่มารับบริการที่รพ.สต.ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2561 13:20 น.