โครงการสายสัมพันธ์พ่อแม่สู่ลูกน้อย
ชื่อโครงการ | โครงการสายสัมพันธ์พ่อแม่สู่ลูกน้อย |
รหัสโครงการ | 60-L1485-1-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านลำปลอก |
วันที่อนุมัติ | 24 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 3,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางณัฐติกานต์ จำนงค์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | รพ.สต.บ้านลำปลอกตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งมีค่ามากที่สุด การให้กำเนิดมนุษย์ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี แข็งแรงจึงนับว่ามีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการบริการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชน ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติต่อไป จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพตั้งแต่การปฏิสนธิ์ในครรภ์มารดาไปจนเติบโตเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ซึ่งการให้บริการในกลุ่มหญิงมีครรภ์และหลังคลอดและในกลุ่มเด็ก 0 - 5 ปี ยังขาดการบริการที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพอย่างครบถ้วน ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาในกลุ่มของหญิงมีครรภ์และเด้กต่อไป จากเหตุปลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก และอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาโดยการจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้มีศักยภาพมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพภาวะนมแม่ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้หญิงมีครรภ์ทุกคนในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยมีสุขภาพแข็งแรง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมไม่มีอัตราการป่วยและตายจากภาวะการตั้งครรภ์ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำระบบเฝ้าระวังเพื่อลดอัตราตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี
|
||
2 | เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้หญิงมีครรภ์ทุกคนในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ประชุมหาข้อสรุปปัญหาในการดำเนินงานอนามัยและเด็กที่ผ่านมาและปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สำรวจความต้องการและแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุวัตถุประส งค์ของโครงการ
- สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาและนำเสนอแผนปฏิบัติงาน
- ขั้นดำเนินการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีในเรื่องดังต่อไปนี้
- การให้บริการฝากครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพครบถ้วน
- การประเมินภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน
- การให้ความรู้แก่หญิงมีครรภ์โดยใช้ข้อปฏิบัติสำหรับแม่ขณะตั้งครรภ์ (เส้นทางลูกรัก) หญิงมีครรภ์สามารถประเมินภาวะโภชนาการของตนเองได้โดยใช้กราฟโภชนาการสำหรับหญิงมีครรภ์ (Vallop Curve) ข้อปฏิบัติหลังคลอดบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การวางแผนครอบครัว การดูแลบุตร และแจกเอกสารความรู้
- การติดตามหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและให้ความรู้หญิงมีครรภ์สามารถประเมินภาวะเสี่ยงได้เมื่อต้องไปพบแพทย์
- ติดตามเยี่ยมหลังคลอด
- การรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่อง
- หญิงมีครรภ์ทุกคนในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยมีสุขภาพแข็งแรง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมไม่มีอัตราการป่วยและตายจากภาวะการตั้งครรภ์
- หญิงมีครรภ์ทุกคนความตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุกคน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2560 15:54 น.