กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัยเทศบาล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 167,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชนดา อภิรักษากุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ร่องความกดอากาศต่ำเคลื่อนที่ผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้เกิดภาวะอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ – ๕ มกราคม ๒๕๖๐ และช่วง ๒๑ – ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดตรัง พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ตลอดจนพื้นที่จังหวัดสงขลาบางส่วนนั้น เทศบาลเมืองปัตตานีได้รับผลกระทบเกิดอุทกภัยบริเวณถนนและบ้านเรือนที่อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำปัตตานี เกิดน้ำท่วมขังตามบ้านเรือนและถนนสายต่างๆ เช่น ถนนยะหริ่ง ถนนสันติสุขถนนหน้าวัง ถนนกะลาพอ ซอย ๑๐และได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะ ถนนรามโกมุท ถนนยะรัง, ถนนนรินทราช ได้รับผลกระทบโดยตรง มีน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลังภาวะนํ้าท่วม นอกจากผู้ประสบภัยจะประสบกับการสูญเสียทรัพย์สินแล้ว ยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องสุขภาพอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นโรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู ภาวะความเครียดที่เกิดจากการสูญเสีย และจากสถานการณ์อุทกภัย ยังทำให้มีน้ำทะลักเข้าสู่ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำ และทะลักเข้าในเขตตัวเมือง ชุมชนริมคลอง,ชุมชนวอกะเจ๊ะฮะ,ชุมชนวังเก่า,ชุมชนตะลุโบะและชุมชนสะบารัง ทำให้มีน้ำขังและมีขยะลอยมากับน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประชาชน มีน้ำขังหลายวันในหลายพื้นที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน มีขยะไปอุดตันท่อระบายน้ำ น้ำไม่สามารถระบายได้ทันท่วงที เป็นต้นเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนเขตเทศบาลเมืองปัตตานี กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี มีความตระหนักในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัย ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม

 

0.00
2 ๒.เพื่อลดขยะและกำจัดขยะที่ตกค้างและอุดตันตามท่อระบายน้ำ

 

0.00
3 ๓. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่มากับน้ำหลังจากน้ำท่วม

 

0.00
4 ๔. ปรับภูมิทัศน์ของชุมชนให้น่าอยู่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 167.00 0 0.00
16 พ.ค. 61 1) ประชุมวางแผนทีมทำงาน 2) สำรวจจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะอุทกภัย 0 3.00 -
16 พ.ค. 61 ดำเนินการเยี่ยมครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะอุทกภัยและมอบชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม และฟื้นฟูสภาพจิตใจ 5) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้สุขภาพแก่ประชาชนและ วิธีป้องกันโรคที่มาหลังน้ำท่วม 0 164.00 -

1) ประชุมวางแผนทีมทำงาน 2) สำรวจจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะอุทกภัย 3) ดำเนินการจัดหาวัสดุและเวชภัณฑ์ 4) ดำเนินการเยี่ยมครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะอุทกภัยและมอบชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม และฟื้นฟูสภาพจิตใจ 5) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้สุขภาพแก่ประชาชนและ วิธีป้องกันโรคที่มาหลังน้ำท่วม 6) สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนจากภาวะอุทกภัยได้
  2. สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดโรคที่มากับน้ำได้
    1. ไม่มีขยะตกค้าง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561 00:00 น.