กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ทัน ป้องภัย ลดโรคไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง
รหัสโครงการ 61-L3045-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง
พี่เลี้ยงโครงการ วรรรพรบัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ก.ค. 2561 24 ส.ค. 2561 16,020.00
รวมงบประมาณ 16,020.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด พื้นที่ตำบลปิยามุมัง เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ปี พ.ศ.2558 จำนวน 9ราย พ.ศ.2559จำนวน 26 รายและ พ.ศ.2560 จำนวน 13 รายโดยกลุ่มอายุที่พบ คือ อายุ 7- 15 ปี และ อายุ 20 – 40 ปี ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญจึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน 2.เพื่อให้จำนวนหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบของอสม. มีค่าHI และ CI=O 3.เพื่อให้นักเรียนในเขตรับผิดชอบได้มีส่วนร่วมในการกำจัดและร่วมกันทำนวัตกรรมป้องกันยุง

1.อัตราป่วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี 2.บ้านและโรงเรียนมีค่า CI HI=0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,970.00 3 16,020.00
10 ส.ค. 61 กิจกรรมความรู้แก่ อสม.และแกนนำ 0 1,275.00 1,275.00
21 ส.ค. 61 - 18 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมพูตพิทักษ์ลูกนำ้ยุงลาย 0 5,700.00 5,750.00
24 ส.ค. 61 กิจกรรมเดินรณรงค์พร้อมพ่นหมอกควัน 0 8,995.00 8,995.00

1.ประชุมชี้แจงอสม. เกี่ยวกับโครงการ 2.จัดตั้งทีม SRRT ของอสม.ร่วมกับทีมตำบล
3.อสม.ประชาสัมพันธ์โครงการในเขตรับผิดชอบเพื่อรับสมัครแกนนำประจำบ้านร่วมโครงการ 4.ค้นหาชุมชนเพื่อเป็นตัวอย่างชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายและประชาชนในชุมชนนั้นไม่เกิดโรคไข้เลือดออก ตลอดจนหามาตรการในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย 5.ในกลุ่มโรงเรียน อสม. ร่วมกับทูตพิทักษ์ไข้เลือดออก ร่วมกันสำรวจและกำจัดไข้เลือดออกในทุกวันศุกร์/ เดือนละ 2 ครั้ง 6.ทีม SRRT ร่วมกันกำจัดโรคไข้เลือดออกเมื่อมีการเกิดโรคภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับแจ้ง 7.อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลายบ้านในเขตรับผิดชอบพร้อมทั้งรายงานการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน 8.เจ้าหน้าที่มีการสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายในหลังคาเรือนเขตรับผิดชอบของอสม. 9.พ่นหมอกควัน ตลอดจนสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและบ้านที่เกิดโรคไข้เลือดออก 10.ในโรงเรียนมีการให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นป.5 และป.6 และสมัครทูตพิทักษ์ไข้เลือดออกในกลุ่มนักเรียน พร้อมทั้งส่งแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายและมีการจับฉลาก สุ่มสำรวจบ้านนักเรียน 11.เดินรณรงค์สร้างกระแสกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนทั้ง 5 หมู่ 12.ทำนวัตกรรมไล่ยุงเพื่อให้เพื่อนอสม. ไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชนกลุ่มเสี่ยง* และในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ 13.ตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการจะมีสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยอสม.ไขว้กันตรวจ 14.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาตำบลปิยามุมัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี 7.2บ้านและโรงเรียนมีค่าHI และ CI = O
7.3ไม่พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดในกลุ่มนักเรียนเขตรับผิดชอบตลอดจนนักเรียนสามารถกำจัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561 21:26 น.