กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพคนใกล้ขยะ
รหัสโครงการ 61-L3045-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ส่วนสาธารณสุข อบต
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กันยายน 2561 - 21 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ แผนงานสาธารณสุข สำนักปลัด อบต ปิยามุมัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง องค์การบริหารส่วนตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ก.ย. 2561 21 ก.ย. 2561 9,650.00
รวมงบประมาณ 9,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การทิ้งขยะรวมกันโดยไม่มีการคัดแยก ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือพนักงานเก็บขยะ ซึ่งหากไม่ระวังป้องกันตัวเองแล้ว ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระบบพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย จัดเก็บขยะจากครัวเรือนจำนวนมาก ซึ่งประชาชนทิ้่งรวมกัน ทำให้พนักงานต้องช่วยกันคัดแยกขยะ บางคนใช้มือเปล่า และไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือยาง ผ้าปิดจมูกการต้องอยู่กับแหล่งสะสมเชื้อโรคเป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่จากความเคยชิน พวกเขาจึงไม่ค่อยระวังป้องกันตัวเท่าที่ควร โดยอ้างความคล่องตัว แม้บางคนจะทราบดีว่า กำลังอยู่บนความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสุขภาพผลสำรวจของชีวจิตโพล พบว่า ผลกระทบทางสุขภาพจากผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับขยะส่วนใหญ่มีอาการ ท้องร่วง ภูมิแพ้ คลื่นไส้อาเจียน และปวดศีรษะ ซึ่ง อบตได้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน พร้อมกำชับพนักงานทุกคนให้ระมัดระวัง แต่ในทางปฏิบัติหลายคนยังไม่ตระหนักเรื่องนี้สิ่งคุกคามต่อสุขภาพพนักงานเก็บขยะ มีหลายรูปแบบ ทั้งถูกของมีคมบาด จนอาจเกิดแผลติดเชื้อ และบาดทะยัก อันตรายจากเชื้อโรคใน กระดาษชำระ ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัย เศษอาหารเน่าบูด และซากสัตว์สอดคล้องกับข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ที่ระบุว่า ฝุ่นละออง และกลิ่นจากกองขยะ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ เสี่ยงต่อโรคปอด ภูมิแพ้ ยิ่งไปกว่านั้นหากสัมผัสกับขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟนีออนแตก แบตเตอรี่เก่า อาจได้รับพิษปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม นำไปสู่โรคเรื้อรังทางระบบประสาท สมอง หลอดเลือด อาจถึงขั้นเกิดมะเร็ง แต่ที่พบมากที่สุดคือการติดเชื้อในลักษณะเฉียบพลันขณะที่ความคิดของประชาชนส่วนใหญ่ที่มองว่าการจัดเก็บขยะไม่ใช่หน้าที่ ทำให้การปลูกฝังเรื่องการคัดแยกขยะจากครัวเรือนทำได้ยาก พนักงานเก็บขยะจึงต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เร่งสร้างความตระหนักให้พนักงานเก็บขยะ เข้มงวดกับมาตรการป้องกันตัวเองจากการทำงาน เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพให้ได้มากที่สุด - การดูแลตนเองเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วย การป้องกันอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเก็บขยะ

พนักงานเก็บขยะ และคนที่มีอาชีพเก็บของเก่าหรือรับซื้อของเก่า รู้จักการป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากแหล่งขยะ สามารถมีสุขภาพที่ดีไม่เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายๆ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 9,650.00
19 ก.ย. 61 การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากแหล่งเชื้อโรคและการใช้อุปกรณ์การป้องกันให้ถูกวิธี การลดความเสี่ยงในการติดโรคให้น้อยที่สุด 0 0.00 9,650.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ทำให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย - วางแผนและแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุมและตรงกับปัญหาของแรงงานเก็บขยะมากขึ้น - ฝึกฝนวินัย ให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมส่วนรวม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561 22:40 น.