กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหาเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในปีงบประมาณ พ.ศ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.054,101.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเป็นเหาในเด็กนักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เนื่องจากอาการหลักคืออาการคันที่ศีรษะ ซึ่งเกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการกัดของเหาที่หนังศีรษะเวลาดูดเลือด และจะคันมากในช่วงกลางคืนเพราะเหามักดูดเลือดในช่วงนี้ ทำให้เด็กมีปัญหานอนหลับไม่สนิท และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ได้นอกจากนี้การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอับเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ และตัวเหายังเป็นพาหนะนำโรคได้หลายโรค เช่น ไข้รากสาดใหญ่ชนิด Epidemic typhus โรคไข้เทรนซ์ (Trench fever) และโรคไข้กลับ (Relapsing fever) เป็นต้น จากการตรวจสุขภาพของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบลปาเสมัส พบว่ามีเด็กนักเรียนเป็นเหาหลายคนโดยในปี ๒๕๖๐ มีจำนวน ๗๐ คน ปี ๒๕๖๑ มีจำนวน ๓๒ คน ซึ่งการเป็นเหาของเด็กในวัยนี้มีโอกาสหายค่อนข้างยาก และมีโอกาสติดโรคซ้ำ เนื่องจากภายในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก จึงมีการติดต่อโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน ทำให้เหาเพิ่มจำนวนและขยายพันธ์อย่างรวดเร็วได้ตลอด กองการศึกษา เทศบาลตำบลปาเสมัส ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาโรคเหา ในเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปราศจากโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลปาเสมัส ปี ๒๕๖๑ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. รวบรวมรายชื่อนักเรียนที่มีเหา ทั้ง ศดม.,ศพด จำนวน ๔ ศูนย์ ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ๔. ประชุมชี้แจ้งแก่คณะทำงาน ๕. ดำเนินงานตามโครงการ ๕.๑ อบรมให้ความรู้แก่ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ดูแลเด็ก ๕.๒ สาธิตและปฏิบัติการกำจัดเหาในเด็กแก่ผู้ปกครอง ๖. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในการป้องกันและแก้ปัญหาโรคเหา ๒. ผู้ปกครองได้รู้เรียนการรักษาโรคเหาอย่างถูกวิธี ๓. ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ดูแลเห็นความสำคัญในการป้องกันและแก้ปัญหาโรคเหา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2561 09:51 น.