กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพรไล่ยุง
รหัสโครงการ 60-L7577-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเฉลิมชนม์ อินท์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ สนง.เทศบาลตำบลตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.278,100.007place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในขณะนี้ทั่วพื้นที่ตำบลตะโหมดมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายจุด เมื่อมีน้ำท่วมขังสิ่งหนึ่งที่มักจะตามมา คือ โรคไข้เลือดออกที่ปัจจุบันมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อยๆ และถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมโดยเร็ว ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกจะติดต่อจากคนไข้ที่มีเชื้อไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อก็จะนำเชื้อไข้เลือดออกไปติดคนอื่นได้โดยไปกัดคนอื่นต่อ และมียุงลายเป็นต้นพาหะ ในการแพร่กระจายโรค ยุงลายเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางวัน ดังนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นช่วงที่เราเสี่ยงที่จะโดนยุงที่เป็นพาหะนาโรคมากัดเรา โดยปกติแล้วเรามักจะมีการป้องกันยุงด้วยวิธีต่างๆเฉพาะตอนกลางคืน แต่ขาดการระมัดระวังในตอนกลางวันซึ่งเป็นช่วงที่ยุงลายออกหากิน โดยเฉพาะในช่วงนี้เป็นฤดูฝนจึงทำให้ยุงลายมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่มากขึ้นจากน้ำที่ขังตามที่ต่างๆ จึงสังเกตได้ว่าช่วงนี้ของทุกปีเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคสูง นอกจากยุงลายที่เป็นพาหะของไข้เลือดออกแล้ว ยุงชนิดอื่นๆ ยังเป็นพาหะนำโรคอีกหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ เช่น ไข้สมองอักเสบ ไข้จับสั่น มาเลเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการป้องกันยุงกัด รวมถึงการหาวิธีการป้องกันกำจัดยุงที่ถูกนำมาใช้นั้นมีวิธีการหลากหลายวิธี ซึ่งมีตั้งแต่วิธีการธรรมดา ไปจนถึงวิธีการซับซ้อนอย่างการทำหมันยุงตัวผู้เพื่อลดประชากรยุงลง แต่วิธีที่คนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดคือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เอง และในการกำจัดยุงในบริเวณกว้างจะต้องใช้สารเคมีปริมาณมาก สารเคมีเหล่านี้จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพิษทั้งต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ทั้งยังทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมตามมา นอกจากนี้การใช้สารเคมีในระยะยาวยังทำให้ยุงดื้อต่อสารเคมีอีกด้วย และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งของการใช้สารเคมีเกินความจำเป็นคือสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี ผิวหนังอักเสบ รวมทั้งทำให้เกิดอาการหายใจขัดข้อง หรือถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยแล้วว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดยุงได้ ที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ ตะไคร้หอม ที่นำมาผลิตสเปรย์กันยุง ซึ่งการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นสมุนไพรไล่ยุงนอกจากจะช่วยลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์แล้วนั้น การใช้สมุนไพรยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีที่มีขายตามท้องตลาดอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำโครงการจึงได้ศึกษาเพื่อคิดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดยุงในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตรายทั้งต่อคน สัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม โดยการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยก่อน จากนั้นจึงนำน้ำมันหอมระเหยที่ได้มาผลิตตามกระบวนการวิจัยเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เช่น ทำในรูปแบบสเปรย์ เป็นต้น ซึ่งการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้นี้นอกจากจะเป็นการช่วยลดปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังทำให้ชุมชนตระหนักและเห็นคุณค่าของสมุนไพรใกล้ตัวที่เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างปลอดพิษปลอดภัยในสังคมไทย และสังคมโลกต่อไป กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด จึงได้เสนอโครงการฯ ขึ้นเพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง เพื่อฝึกปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง และส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดี เนื่องจากการลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ทั้งยังทำให้ชุมชนตระหนักและเห็นคุณค่าของสมุนไพรใกล้ตัวที่เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ถูกชี้แนะไว้โดยบรรพบุรุษของการวิจัยคือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างปลอดพิษปลอดภัยในสังคมไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อหาสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ทดแทนสารเคมีในการไล่ยุง

 

2 2. เพื่ออนุรักษ์สมุนไพรใช้ไล่ยุงจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

3 3. เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในงานควบคุมโรค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ2.ดำเนินงานตามแผนงาน 3.สาธิตการผลิตสมุนไพรไล่ยุง ให้กับกลุ่มชุมชนหรือประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ 4.สรุปผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อถ่ายทอดการผลิตสมุนไพรไล่ยุง ให้กับกลุ่มชุมชนหรือประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
  2. เพื่ออนุรักษ์สมุนไพรไล่ยุงจากพืชสมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3. ประชาชนสามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในทางป้องกันโรคได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2560 11:38 น.