กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวปาเสมัสป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L2535-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพกวาลอซีรา
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิชิตชัย เจ๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.054,101.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา เทศบาลตำบลปาเสมัส เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านและมีแนวโน้มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหนะและอัตรายถึงเสียชีวิตได้ การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งในปี 2559 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 99 รายทั้งอำเภอสุไหงโก-ลกอัตราป่วยอยู่ที่ร้อยละ 119.84/แสนประชากรส่วนตำบลปาเสมัสมีผู้ป่วยทั้งหมด 30 รายอัตราป่วยอยู่ที่ 170.29/แสนประชากร แยกเป็นรพ.สต กวาลอซีรา 9 รายอัตราป่วยอยู่ที่ร้อยละ97.2/แสนประชากร อัตราป่วยนี้สามารถชี้ได้ว่าเกิดการระบาดในพื้นเพราะอัตราป่วยตามหลักวิชาการจะไม่เกินร้อยละ50/แสนประชากร โดยชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรค สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และการควบคุมโรคด้านอื่นๆ ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในตำบลปาเสมัส ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 280 38,050.00 2 38,050.00
1 พ.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 1. จัดกิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออก 200 11,800.00 11,800.00
1 พ.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 2. กิจกรรมควบคุมโรคกรณีเกิดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน 80 26,250.00 26,250.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนิน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุและกำจัดลูกน้ำยุงลาย 2.2 รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุและกำจัดยุงลาย โดยวิธี 1). ทางกายภาพ

- จัดกิจกรรมรณรงค์ตามหลัก 6 ป.1 ข ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ในหมู่บ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถาบันปอเนาะ 2). ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียนโดย อสม. และ พ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย 3). ทางชีวภาพ - สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยุง - จัดกิจกรรมให้ความรู้ป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรในพื้นที่ - ดำเนินการควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับรายงานพบผู้ป่วยในพื้นที่และพ่นเคมีหมอกควันในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ 3. ขั้นการประเมินผล - ติดตามค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย Hl, Cl, Bl หากมีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานต้องร่วมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  4. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2561 14:24 น.