กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเครือข่ายจิตอาสาดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ตำบลท่าแพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอรขุนเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลผู้ป่วยที่บ้านเป็ลกลยุทย์สำคัญที่ช่วยลดเวลาการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลทำให้ปริมาณงานและค่าใช้จ่ายในภาพรวมลดลง การดูแลผู้ป่วยที่บ้านมีโอกาสใกล้ชิดและรับทราบปัญหาทั้งหมดทุกด้านที่มีผลกระทบต่อการฟื้นหายของผู้ป่วย ช่วยให้การค้นหาสาเหตุร่วมของการเจ็บป่วยและการแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น โดยเน้นการจัดบริการสุขภาพแบบผสมผสานให้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุด้านการส่งเสริสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาโรคเบื้องต้น และฟื้นฟูสภาพเพื่อสนับสนุนการดูแลตนเองของประชาชนและสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการดูแลสุขภาพตนเองของสมาชิกในครอบครัวและชุมชน เชื่อมโยงการบริการพยาบาลจากโรงพยาบาลมายังสถานบริการในชุมชนและที่บ้าน สำหรับการวิจัยการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านได้มีการศึกษาวิจัยได้ดังนี้ ผลงานวิจัยของแอนนา สุมะโน พบว่าการช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์ อุปสรรคเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพขณะอยู่ที่บ้าน ร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้่ป่วยวัณโรคปอด ร่วมมือปฏิบัติตามแผนการดูแลสุขภาพดีขึ้น ผลงานวิจัยของสุชาดา อุปพัทวาณิชย์ พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มที่ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยทีมสุขภาพ มีความรู้และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้าน และดีกว่ากลุ่มที่รับบริการตามปกติที่โรงพยาบาล ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ ราตรี มณีขัติย์ ที่พบว่าการเยี่ยมบ้านอย่างมีแบบแผนของพยาบาลสามารถส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผลงานวิจัยของมาลีจิตร ชัยเนตร ศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลังเยี่ยมบ้านดีกว่าก่อนเยี่ยม จากผลการศึกษาวิจัยจะเห็นว่าการที่พยาบาลติดตามไปเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้านหรือการเยี่ยมบ้านมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและครอบครัว เป็นการสนับสนุนให้คนในชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้ ทำให้เกิดเครื่อข่ายสุขภาพในครอบครัวและชุมชน งานเยี่ยมบ้าน กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและหน่วยการปฐมภูมิ เครือยข่ายสุขภาพอำเภอท่าแพ เห็นความสำคัญของการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเครือข่ายจิตอาสาดูแลผู้ป่วยต่เนื่องที่บ้าน ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ แก่กลุ่มแกนนำ จิตอาสา อสม. พยาบาลประจำหมู่บ้าน ผู้ดูแล ญาติและผู้ป่วย ให้สามารถช่วยเหลือตนเองและปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในบ้านและชุมชนได้ตามศักยภาพของผู้ป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพ กลุ่มพยาบาลและเจ้าหน้าที่เครือข่ายสุขภาพประจำหมู่บ้าน อสม.และแกนนำชุมชน บัณฑิตอาสา

1.กลุ่มผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน 2.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายตามความเหมาะสม 3.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบองค์รวมและตามมาตรฐานการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 4.ร้อยละ 95 ของพยาบาลประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่บ้าน

0.00
2 2.เพื่อฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ที่ติดตัวมากับผู้ป่วย เช่น ทำแผลเจาะคอ การใช้เครื่องออกซิเจน การให้อาหารทางสายยาง และสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

 

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาเครือข่ายสำขภาพงานเยี่ยมบ้านของอำเภอท่าแพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพ กลุ่มพยาบาลและเจ้าหน้าที่เครือข่ายสุขภาพประจำหมู่บ้าน อสม.และแกนนำชุมชน บัณฑิตอาสา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ที่ติดตัวมากับผู้ป่วย เช่น ทำแผลเจาะคอ การใช้เครื่องออกซิเจน การให้อาหารทางสายยาง และสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อพัฒนาเครือข่ายสำขภาพงานเยี่ยมบ้านของอำเภอท่าแพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

8 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ที่ติดตัวมากับผู้ป่วย และพัฒนาเครือข่ายสุขภาพงานเยี่ยมบ้าน 26.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ
1.ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
2.จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติและขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนระบบหลักประกัสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการแก่แกนนำชุมชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจ 4.รับสมัครกลุ่มแกนนำ ชุมชน และบุคคลที่สนใจเข้าร่วม ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายแกนนำกลุ่มเป้าหมาย โดย 1.1 บรรยายวิชาการโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 1.2 ฝึกปฏิบัติ กิจกรรมบำบัดในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยนักกิจกรรมบำบัด 1.3 ฝึกปฏิบัติกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพด้านการเคลื่อนไหว 1.4 ฝึกปฏิบัตินวดพื้นฐานเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน 1.5 ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัว เช่น ท่อเจาะคอ สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
กิจกรรมที่ 2 การลงพื้นที่ติดตามการดูแลผู้ป่วยของทีมเยี่ยมบ้าน
2.1 แกนนำชุมชนผู้ผ่านการอบรมลงเยี่ยมและให้บริการกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ในชุมชนตามกลุ่มอาการ 2.2 หมอครอบครัว พยาบาลประจำหมู่บ้าน แกนนำชุมชน เครือข่ายสุขภาพ ตำบลท่าแพ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาโอกาสพัฒนา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

พยาบาลประจำหมู่บ้าน แกนนำชุมชน อสม. ในตำบลท่าแพมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน และเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการสร้างสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป ให้การช่วยเหลือชุมชนโดยชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2561 15:12 น.