กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลป่าพะยอม
รหัสโครงการ 61-L8416-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนดรงพยาบาลป่าพะยอม
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรียาหิรัญโยดมนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.86,99.947place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 28 ก.ย. 2561 33,750.00
รวมงบประมาณ 33,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6185 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจาการติดเชื้อไวรัส มียุงลายชนิด Aedesaegyptiและ Aedesalbopictusเป็นพาหะนำโรค ยุงลายชอบกัดดูดเลือดคนในเวลากลางวัน พบมากในฤดูฝน ชอบวางไข่ตามภาชนะขังน้ำ ที่มีน้ำนิ่ง ใส ทั้งภายในและภายนอกบริเวณบ้าน โรงเรียน วัด หรือสถานที่ต่างๆ ในชุมชน ดังนั้นการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ได้ผล จึงมุ่งเน้นไปที่การกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงตัวเต็มวัย รวมถึงการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของตำบลป่าพะยอม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – 2560พบว่า ในปี 2556มีผู้ป่วย 9รายคิดอัตราป่วยเท่ากับ 149.27ต่อแสนประชากรปี2557มีผู้ป่วย 9 รายคิดอัตราป่วยเท่ากับ148.39ต่อแสนประชากร2558 มีผู้ป่วย 6 รายคิดอัตราป่วยเท่ากับ 98.93ต่อแสนประชากร 2559 มีผู้ป่วย 6 รายคิดอัตราป่วยเท่ากับ98.93ต่อแสนประชากร2560 มีผู้ป่วย 15 รายคิดอัตราป่วย243.11ต่อแสนประชากรลักษณะการระบาดกระจายไปทุกหมู่บ้าน จากการดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคในชุมชน มีการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกทุก เดือนอย่างสม่ำเสมอก็ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกตลอด และจะมีการระบาดในช่วงฤดูฝน ปัจจุบันพบว่าการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการรายงานการเฝ้าระวังของกองระบาดวิทยา นอกจากนี้ยังปรากฏว่ายุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปีส่งผลให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกมีตลอดทั้งปีและแพร่ระบาดไปทั่วทั้งในเขตเมืองและชนบทฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องเร่งหาแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมิให้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นแต่เนื่องจากการดำเนินการป้องกันโรคให้ได้ผลดีนั้นจะต้องได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากประชาชนชุมชนทุกครัวเรือนเพื่อป้องกันการระบาดที่อาจเกิดต่อเนื่องถึงปี 2561จึงต้องดำเนินการให้มีการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประกอบกับพาหะของโรคไข้เลือดออกคือ ยุงลาย ซึ่งมีแหล่งเพาะพันธุ์ตามภาชนะกักเก็บน้ำทั่วไปที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ภาชนะเก็บน้ำใช้ที่ไม่มีฝาปิดมิดชิด โดยเฉพาะโอ่งน้ำใช้ ถังเก็บน้ำในห้องน้ำ ห้องส้วม แจกันดอกไม้สด จานรองขาตู้กับข้าวกันมด และเศษวัสดุที่มีน้ำขัง ซึ่งมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคที่ดี จะต้องได้รับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชน ทุกครัวเรือนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดปี จึงจะเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม
จากผลการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของตำบลป่าพะยอมเมื่อปี พ.ศ.2560ได้สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย พบว่าทั้งในบ้านและบริเวณนอกบ้านโรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานที่ต่างๆ ในชุมชนยังมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายดังนั้น จึงต้องดำเนินการเร่งรัดประสานความร่วมมือระหว่างบุคคลภายในบ้าน ชุมชนและโรงเรียน ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วม จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ตำบลป่าพะยอม จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกรวมทั้งส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกซึ่งจะส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลป่าพะยอมลดลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร และมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก 2.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 3.ลดค่า HI(ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำ)ในหมู่บ้านไม่เกินร้อยละ 10

1.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก


2.ค่า HI (ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำ) ในหมู่บ้านไม่เกินร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,750.00 0 0.00
18 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ให้ความรู้แก่ประชาชนและรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 33,750.00 -

1.จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลป่าพะยอมและอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลป่าพะยอม เพื่อชี้แจงโครงการและหาข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนมีการตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนร่วมมือกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอทำให้ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (CI, HI) ลดลงทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2561 15:14 น.