กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L3049-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสาบัน
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 28,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซาร์วาตุลอาห์ลัม สุหลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาบัน อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,101.439place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลสาบัน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกใาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2557-2558 เท่ากับ 152.89 (21 ราย)และ 138.33 (19 ราย) ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (ที่มา : ระบบสารสนเทศโรคที่ต้องเฝ้าระวัง จังหวีชัดปัตตานี ) ไม่มีผู้ป่วยตามด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสาบัน จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ืี่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลสาบัน พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลสาบัน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อดูแลควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อให้ประชาชนในตำบลสาบันเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3.เพื่อให้ประชาชนในตำบลสาบันได้ดูแลรักษาความสะอาดของบริเวณบ้านเรือนโดยรอบ 4.เพื่อให้พื้นที่เสี่ยงได้รับการพ่นหมอกควันภายใน 24 ชั่วโมง และพื้นที่ทั่วไปในตำบลสาบันได้รับการพ่นหมอกควันในช่วงต้นฤดูฝน 5.เพื่อรณรงค์สร้างแกนนำนักเรียนในโรงเรียน 6.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก 7.เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในภาชนะ และพ่นกำจัดยุงลายของชุมชนในเขตตำบลสาบัน 8.เพื่อป้องกันการระบาดและป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ส่งโครงการเข้าคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการ 3.คณะกรรมการกองทุนฯประชุมพิจารณาโครงการ 4.ประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. แกนนำชุมชน เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานรณรงค์ไข้เลือดออก 5.ดำเนินโครงการ โดยการประชาสัมพันธ์โครงการและเสียงตามสายโดย อสม. ให้ความรู้เกี่ยวกับป้องกันโรคไข้เลือดออก การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การพ่นหมอกควัน 6.สนับสนุนเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำทั้ง 5 หมู่บ้านและไฟฉายสำหรับการส่องตรวจลูกน้ำยุง 7.จัดทำเอกสารแผ่นพับ ไวนิล เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แก่ชุมชนและโรงเรียน 8.จัดหาให้มีวัสดุ น้ำมัน/สารเคมีเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ดูแลเครื่องพ่นหมอกควันให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้และส่งมอบให้อยู่ในความดูแลของ อสม./รพ.สต.ในพื้นที่ 9.ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันตามบ้านเรือนกรณีได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกภายใน 24 ชั่วโมงแรกและอีก 7 วันต่อมา รวมทั้งดำเนินการพ่นหมอกควันในสถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียนการศึกษาในวันเสาร์-อาทิตย์และในหมู่บ้าน 10.ประเมินผลการดำเนินโครงการโดยจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 11.สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้มีการดูแลควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน 2.ประชาชนในตำบลสาบันเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3.บริเวณบ้านเรือนโดยรอบในตำบลสาบันมีการรักษาความสะอาดเพิ่มขึ้น 4.พื้นที่เสี่ยงได้รับการพ่นหมอกควันและพื้นที่ทั่วไปในตำบลสาบันได้รับการพ่นหมอกควันในช่วงต้นฤดูฝน 5.ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง 6.เกิดภาคีเครือข่ายได้แก่ บ้าน ชุมชนและสถานศึกษาในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก 7.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง และไม่มีอัตราการป่วยรายใหม่ด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2560

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2561 11:26 น.