กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เสริมสร้างพลังอำนาจการูแลตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2 (ปี 2561 )
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 52,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

…………จากรายงานแผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที 11 (พ.ศ.2555-2559) กระทรวง สาธารณสุข มีรายละเอียดดังนี้ สถานะสุขภาพคนไทยอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยยืนยาวขึ้น ผู้ชายจะมีอายุคาดเฉลี่ย 69.1 ปี ใน พ.ศ. 2553 เพิ่มเป็น 71.1 ปี ใน พ.ศ. 2563 และผู้หญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ย 75.7 ปี เพิ่มเป็น 77 ปี การสูญเสียปีสุขภาวะ ผู้ชายไทยสูญเสียปีสุขภาวะสูงสุดจากการติดสุรา อุบัติเหตุจราจร และ โรคหลอดเลือด สําหรับผู้หญิงไทยมีการสูญเสียปีสุขภาวะสูงสุดจาก โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้า พบว่าสาเหตุหลักของการสูญเสียปีสุขภาวะ ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงไทย มาจากโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรังสาเหตุการตาย จากการคาดประมาณแนวโน้มการตายด้วยโรคต่างๆ พบว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2562) อุบัติเหตุจราจร มะเร็งตับ และหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการตายที พบสูงสุดในผู้ชายไทย ขณะที่ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็งตับ เป็นสาเหตุการตายที่ พบมากที สุดในผู้หญิงไทย จะเห็นได้ว่า โรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และเบาหวาน เป็นปัญหาสําคัญที่ทําให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การเจ็บป่วยที่สําคัญของคนไทยที่พบว่าแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้นมา สถานการณ์ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากวิถีชีวิตที่ เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างยิ่งพฤติกรรมเสี่ยง ที่สําคัญจากการบริโภคหวาน มัน เค็ม มาก บริโภคผักและผลไม้น้อย สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกําลังกาย เกิดความเครียดและไม่สามารถจัดการกับ อารมณ์ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที สําคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทีซึ่งประเทศไทยก็กําลังเผชิญกับ ปัญหาทีวิกฤตจากข้อมูลเชิงประจักษ์พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2551 – 2552 มีความชุก ของโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.9 โรคความดันโลหิตสูง 21.4 และภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 19.4 เกิดการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ในช่วง พ.ศ. 2548 – 2551 เพิ่มขึ้น 1.2 – 1.6 เท่า เป็น 505 , 684, 845 และ 1,149 ต่อแสนประชากรตามลําดับ หากไม่สามารถหยุดยั้งปัญหาได้ จะทําให้เกิดการเจ็บป่วย มีภาวะแทรกซ้อน พิการ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ปี2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 78 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 5 รายคิดเป็นร้อยละ6.41 มีภาวะแทรกซ้อน 43 รายรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ 39 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้เลย แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 280 รายควบคุมความดันโลหิตได้ดี 81 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.20 มีภาวะแทรกซ้อน 35 รายรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ 112 รายควบคุมความดันโลหิตได้ดี 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.57มีภาวะแทรกซ้อน 2 ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ ได้เล็งเห็นความสำคัญและตระหนักสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงจึงได้จัดทำ…โครงการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่นได้เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน…

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52.00 0 0.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจการดูแลตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี2 (ปี2561) 0 52.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน คืนข้อมูลผู้ป่วยความดันเบาหวานแก่เครือข่าย

  2. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบร่วมกับเครือข่าย

  3. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย คัดเลือกผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต สูงไม่ได้อยู่ในเกณฑ์

  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

  5. จัดอบรมกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเข้มข้น

    6.สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง - เบาหวาน

2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2561 14:56 น.