กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการห่วงใย ใส่ใจ แก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L2535-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกวาลอซีรา
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,715.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิอาซีซะห์ เจ๊ะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.054,101.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากปัญหาสาธารณสุขไทยได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น การบริโภคเปลี่ยนไป มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบออกกำลังกายน้อยลง และมีความเครียดเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น จากสถิติปัญหาสาธารณสุขไทย มีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้น ๕ อันดับแรก ของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลล้วนเป็นโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด อุบัติเหตุ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ โดยส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายมีความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๒ ด้าน คือ พฤติกรรมการออกกำลังกายโดยการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วันๆละอย่างน้อย ๓๐ นาที และพฤติกรรมการกินผัก ผลไม้สด และลดอาหารมัน ประกอบกับนโยบายหลักประกันสุขภาพ ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช่จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว จากข้อมูลผลลัพธ์ในการดูแลด้านสุขภาพของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ พบอัตราการเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอ้างอิงจากผลตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพเชิงรุกปีงบประมณ ๒๕๕๙ และ ปี ๒๕๖๐ ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน พบกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานเพิ่มมากขึ้นจาก ร้อยละ ๓.๓๖ เป็นร้อยละ ๓.๙๙ เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๔๒.๑๑ เป็น ร้อยละ ๔๖.๘๗ พบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นจาก ๐.๑๕ เป็น ร้อยละ ๑.๑๒ ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๐.๓๒ เป็นร้อยละ ๓.๔๗ ในปี ๒๕๕๙ และ๒๕๖๐ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบข้อมูลจากการดูแลสุขภาพของกลุ่มป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น โดยในปี ๒๕๖๐ มีกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด ๒๔๒ คน รับการรักษาต่อเนื่องและสามารถติดตามได้ผลการรักษาได้ ๒๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๐๕ คน และในจำนวนนี้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๓๖ และมีภาวะแทรกซ้อนแล้วจำนวน ๑๕๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๗๐ ส่วนกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๖๑๔ คน รับการรักษาต่อเนื่องและสามารถติดตามได้ ๔๓๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๕๒ และในจำนวนนี้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ๒๐๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๓๔ และมีภาวะแทรกซ้อนแล้วจำนวน ๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๓๕ ซึงเป็นผลอันเนื่องมาจากการความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง รวมทั้งจากความเสื่อมของร่างกายและภาวะความเป็นไปของโรค ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งทางตาหัวใจและหลอดเลือด ทางไต และทางเท้า เพื่อการรักษาและดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ทันท่วงที อนึ่ง พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลต่อการดูแลรักษาก็ส่งผลต่อการดำเนินของโรค ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ครอบครัว ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา จึงได้จัดทำ โครงการห่วงใย ใส่ใจ แก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๒๕๖๑ ขึ้นโดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองในกลุ่มเสี่ยงและการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

กิจกรรมที่ ๑ การคัดกรองประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริงและยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน ๒,๐๙๐ คน ๑. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนประชากรที่มี ๓๕ ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง ๒. ชี้แจงโครงการแก่อสม.ในเวทีประชุมประจำเดือนในเรื่องการตรวจสุขภาพ/วัดรอบเอว/วัดความดันโลหิต การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๓. จัดทำเอกสารแบบคัดกรองสุขภาพและแบบคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๔. อสม.และจนท.ออกตรวจคัดกรองสุขภาพ/วัดรอบเอว/คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน จำนวน ๔ หมู่บ้าน ๕. บันทึกผลการตรวจคัดกรองในโปรแกรม NCD JHCIS เพื่อส่ง สปสช. ๖. สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๒ จัดอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่สมัครใจ จำนวน ๒๐ คน ๑. ผู้รับผิดชอบโครงการ จัดทำปฏิทินดำเนินงาน กำหนดวันประชุม ประสานวิทยาการประชาสัมพันธ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ เอกสารประกอบการประชุม ๒. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นเวลา ๑ วัน ๓. จัดตั้งคลินิก DPAC ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการ ๔. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายกลุ่มหลังจากได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นโดยใช้รูปแบบกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Self-Help Group) โดยแบ่งช่วงกิจกรรมดังนี้ ๔.๑ ช่วยกันวัดประเมินสุขภาพร่างกาย - ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต คำนวณ ดัชนีมวลกาย เจาะเลือดปลายนิ้ว ๔.๒ กิจกรรมทบทวนความรู้และถาม-ตอบคำถามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดเสี่ยงกับบุคลากรทางการแพทย์ ในหัวข้อกิจกรรมคือ"รู้เท่าทันเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง" ๔.๓ กิจกรรมเพื่อนชวนคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ โดยจัดเป็นกิจกรรมกลุ่ม Self-Help Group ให้เอื้อต่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผ่านมา การช่วยเหลือและเสนอแนวทางแก้ไขกันในกลุ่มสมาชิก โดยมีบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้อำนวยกิจกรรม (Facilitator) โดยแบ่งกลุ่มๆ ละ ๑๐ คน ๔.๔ อภิปรายและจบกิจกรรม ๕. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคลและวัดประเมินสุขภาพร่างกาย - ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต คำนวณดัชนีมวลกาย เจาะเลือดปลายนิ้ว หลังผ่านการอบรมจำนวน ๖ ครั้ง ในระยะ ๖ เดือนหลังอบรม ๖. สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๓ คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจและหลอดเลือด และเท้าเชิงรุกในกลุ่มเป้าหมาย ๑. ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมแผนการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน จัดทำปฏิทินการคัดกรอง กำหนดวันที่คัดกรองให้ชัดเจน ๒. ประชุม อสม. เพื่อแจ้งรายละเอียดการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ติดตามผู้ป่วยและช่วยประชาสัมพันธ์ ๓. จัดทำเอกสารการคัดกรอง แผ่นพับให้ความรู้เบื้องต้น ๔. ลงพื้นที่คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจและหลอดเลือด และเท้าเชิงรุกในกลุ่มป่วยตามแผน ๕. บันทึกผลการคัดกรองลงในโปรแกรม JHCIS เพื่อส่ง สปสช. ๖. นัดผู้ป่วยพบแพทย์เพื่อฟังผลการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน กิจกรรมที่ ๔ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ SHG (Self-Help Group) ในกลุ่มป่วย ๑. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข ๒. จัดทำเอกสารประกอบการทำกิจกรรม วัสดุ และจัดเตรียมสถานที่ ๓. จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วย แบ่งช่วงกิจกรรมดังนี้ ๓.๑ ช่วยกันวัดประเมินสุขภาพร่างกาย - ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต คำนวณดัชนีมวลกาย เจาะเลือดปลายนิ้ว ๓.๒ กิจกรรมทบทวนความรู้และถาม-ตอบคำถามการดูแลเบาหวานกับบุคลากรทางการแพทย์ในหัวข้อกิจกรรมคือ "รู้เท่าทันเพื่อป้องกันและควบคุมโรคแทรกซ้อน"
๓.๓ กิจกรรมเพื่อนชวนคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ โดยจัดเป็นกิจกรรมกลุ่ม Self-Help Group ให้เอื้อต่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผ่านมา การช่วยเหลือและเสนอแนวทางแก้ไขกันในกลุ่มสมาชิก โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้อำนวยกิจกรรม (Facilitator) ๔. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมโรค ๖ ครั้ง ในระยะเวลา ๑ เดือน ๓ เดือน และ ๖ เดือน หลังกิกรรม SHG ๕. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายรู้เท่าทันโรคและมีความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อที่สามารถป้องกันได้ ๒. กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ๓. มีแกนนำ/คนต้นแบบในการดูแลตนเองในกลุ่มป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสุขภาพในชุมชน ๔. พื้นที่ตำบลปาเสมัสสามารถควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2561 09:35 น.