กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้มีความเสี่ยงและรณรงค์ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า และ หัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้มีความเสี่ยงและรณรงค์ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า และ หัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ L2496-61-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมัน กาเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ต.ค. 2560 28 ก.ย. 2561 49,500.00
รวมงบประมาณ 49,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สมารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้น คือ ๓๕ ปีขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ จำนวน ๒,๗๙๑ ราย ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน ๒,๕๐๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๗๕ และโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๒,๑๓๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๖๗ ตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงมาก จำนวน ๓๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๐๘ ของประชากร อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้ง สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อป้องกัน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕61 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพา ตนเองได้

 

0.00
2 ๒. เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการตรวจจอประสาทตา ตรวจภาวะการทำงานของไต และตรวจเท้า

 

0.00
3 ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงได้รับการติดตาม/ประเมินภาวะสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,500.00 1 49,500.00
2 ต.ค. 60 - 28 ก.ย. 61 : โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้มีความเสี่ยงและรณรงค์ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า และ หัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 49,500.00 49,500.00

กลวิธีดำเนินงาน
๑.ขั้นเตรียมการ
๑.๑ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป
๑.๒ จัดทำใบสมัครเข้าร่วมโครงการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
๑.๓ จัดทำหนังสือพันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อใช้เป็นข้อตกลงในการปฏิบัติตัวของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
๑.๔ จัดทำแบบประเมินภาวะสุขภาพด้วยตนเองที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย / จิตใจแบบง่ายที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ ในการประเมินภาวะสุขภาพและสามารถทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเอง
๑.๕ คัดเลือกผู้สมัครใจเป็นแกนนำเพื่อเข้าอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
๒.ขั้นตอนดำเนินการ
๒.๑ จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง
• ผู้เข้ารับการอบรมชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูง,วัดความดันโลหิต,วัดรอบเอว,วัดรอบสะโพก , เจาะน้ำตาลในเลือด และทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง เพื่อประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ
-ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค / การปฏิบัติตัวโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง
-ให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสุขภาพเบื้องต้นพร้อมฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินสุขภาพและแปลผล ภาวะสุขภาพของตนเอง
-ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย
- สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย - ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและการจัดการความเครียด
- สาธิตและฝึกปฏิบัติการฝึกจิตและการคลายเครียด
- ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
- สาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารตัวอย่าง
• วางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองสู่เป้าหมายที่ดีของอนาคต - ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและการจัดการความเครียด
- สาธิตและฝึกปฏิบัติการฝึกจิตและการคลายเครียด
-แบ่งกลุ่มย่อยเสริมแรงใจ-สัญญาใจ
-ประเมินความพึงพอใจ ๒.๒ ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถเป็นแกนนำในการขยายผลสู่สมาชิกที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่อยู่ในชุมชนของตนเอง โดยการถ่ายทอดความรู้เรื่องเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๒.๓ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามตรวจ/ประเมินภาวะสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ดังนี้
- ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว รอบสะโพก เพื่อประเมินค่าดัชนีมวลกาย สัดส่วนร่างกาย พร้อมทั้งทำแบบประเมินความเครียด พฤติกรรมการบริโภคทุก ๑ เดือน
- วัดความดันโลหิตตรวจน้ำตาลในเลือด ทุก ๓ เดือน
- ทำแบบ สัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อทดสอบความรู้และประเมิน พฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าร่วมโครงการ ครบ ๑ ปี
๒.๔ สรรหาบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมมอบรางวัล/ใบเกียรติบัตรในวันประชุมสัมมนา
๒.๕ จัดประชุมสัมมนาสมาชิกผู้เข้ารับการอบรม เพื่อให้สมาชิกมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเองกับบุคคลตัวอย่าง ในการศึกษาปัญหาและหาแนวทางพัฒนาการดูแลสุขภาพของตนเองต่อไป
๒.๖ สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสม ๒.มีแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงในชุมชน
๓.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงได้รับการติดตาม/ประเมินภาวะสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2561 09:46 น.